กินเปรี้ยวให้ปลอดภัยในช่วงร้อน มะนาวแพง
ฤดูร้อนเป็นนอกฤดูผลผลิตมะนาว ทำให้ปริมาณมะนาวที่ออกสู่ตลาดลดลง เป็นสาเหตุทำให้มะนาวราคาแพงขึ้นมากในตอนนี้การปรุงอาหารและเครื่องดื่มบางอย่างผู้บริโภคจึงหันมาใช้มะนาวเทียมแทน แต่ต้องเลือกบริโภคอย่างระมัดระวัง และควรใช้น้ำมะนาวเทียมเมื่อจำเป็นเท่านั้น
น่าร้อนปีนี้มาเร็วกว่าที่เคย สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้หลายคนเกิดอาการเบื่ออาหาร และหากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือ รับประทานอาหารรสจัดก็อาจเป็นเหตุทำให้ท้องเสีย และป่วยได้ ควรเลือกซื้อน้ำมะนาวเทียมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเลือกซื้อที่มีฉลากอาหาร
รสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตัวของ มะนาว ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารเอร็ดอร่อยยิ่งขึ้นนะคะ แต่ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งในขณะนี้ราคามะนาวแพงขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นนอกฤดูผลผลิตมะนาว ทำให้ปริมาณผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดในปริมาณที่ลดลงจากปกติ ส่งผลกระทบทำให้ราคามะนาวมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจนถึงเดือนพ.ค.นี้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนที่ผลผลิตไม่ค่อยดี ส่งผลให้ราคามะนาวแพงไปอีก 2-3 เดือน เพราะช่วงมี.ค.- พ.ค. เพราะเป็นช่วงนอกฤดูมะนาว
สำหรับราคามะนาวในบางตลาดในกรุงเทพฯ ผลละ 5-6 บาท แม้ว่าราคาที่กรมการค้าภายในเก็บสถิติจะอยู่ที่ประมาณผลละ 4 บาท เพราะราคาที่กรมการค้าภายในเก็บสถิติเป็นราคาเฉลี่ยโดยรวม ไม่ใช่ราคาแท้จริงของแต่ละตลาด หากเปรียบเทียบราคามะนาวเบอร์ 1-2 ปัจจุบันซึ่งจำหน่ายอยู่ระหว่าง 4-6 บาท จากต้นปีราคาผลละ 1.88 บาท ผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดน้อยลง ทำให้ราคามะนาวพุ่งขึ้นไปถึงผลละ 7-10 บาท พ่อค้าแม่ค้าจึงหันมาใช้ น้ำมะนาวเทียม กัน เนื่องจากมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงจะหลีกเลี่ยงไม่พ้น วันนี้มารู้จักน้ำมะนาวเทียมกันค่ะ
น้ำมะนาวเทียมทำได้โดยนำผลมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองเนื้อและสิ่งสกปรกออกไป จากนั้นนำมาผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ เช่น กรดซิตริก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ ว่า กรดมะนาว โดยอัตราส่วนนั้นก็แล้วแต่ผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น น้ำมะนาว 30% ก็คือมีน้ำมะนาวแท้ 30% ผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ อีก 70% และมีการแต่งสี แต่งกลิ่น ให้ใกล้เคียงน้ำมะนาวธรรมชาติ ปัจจุบันมะนาวมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับการนำมะนาวแท้มาเป็นส่วนผสม ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต ยิ่งในช่วงที่ผลผลิตมีน้อยก็อาจจะป้อนตลาดไม่ทัน ผู้ผลิตจึงหันมาใช้กรดมะนาวล้วนๆ โดยไม่มีน้ำมะนาวแท้เจือปนอยู่เลย การผลิตน้ำมะนาวเทียมโดยใช้กรดมะนาวล้วนๆ จะต้องนำกรดมะนาวมาเจือจาง โดยให้มีค่าความเป็นกรด-ด่างใกล้เคียงกับน้ำมะนาวแท้
กรดซิตริกพบได้ทั่วไปในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด ดังนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นสารเคมีที่ปลอดภัย สามารถเติมลงในอาหารได้โดยไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้กรดซิตริกยังสามารถย่อยสลายได้ง่ายอีกด้วย การผลิตกรดซิตริกในระยะแรกใช้วิธีการสกัดจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวโดยตรง เช่น มะนาว ซึ่งมีกรดซิตริกประมาณร้อยละ 7-9 แต่ปัจจุบันนิยมผลิตด้วยวิธีการสังเคราะห์กรดซิตริกจากน้ำตาลกลูโคส โดยการหมักน้ำตาลกลูโคสด้วยจุลินทรีย์ กรดซิตริกนอกจากจะใช้ในการผลิตน้ำมะนาวเทียมแล้ว ยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย มีการใช้กรดซิตริกเป็นสารให้กลิ่น รส ในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและอาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ลูกกวาด เจลลี เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้กรดซิตริกเป็นสารลดความฝาด ควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ป้องกันการเน่าเสียของเครื่องดื่ม ป้องกันการตกผลึกของน้ำผึ้ง และป้องกันน้ำผลไม้ขุ่นได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ตรวจพบว่ามีผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมะนาวเทียมด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องเสีย ท้องร่วง เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารได้ ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อน้ำมะนาวเทียมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเลือกซื้อที่มีฉลากอาหาร ในฉลากต้องแจ้งข้อมูลครบถ้วน ตั้งแต่ชื่อลักษณะผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อ ชื่อผู้ผลิต ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ ส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิต วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารกันเสีย และเจือสีธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์ วันที่ผลิตและวันหมดอายุ
ที่สำคัญก็คือต้องมีเครื่องหมาย อย. และเลขที่ อย. ซึ่งหมายถึงได้รับการรับรองคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้ได้น้ำมะนาวเทียมที่มีคุณภาพไว้บริโภคอย่างปลอดภัย ควรใช้น้ำมะนาวเทียมเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะในเชิงโภชนาการและความปลอดภัยแล้วการใช้น้ำมะนาวแท้ หรือดัดแปลงใช้ผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นแทนมะนาว เช่น มะม่วงเปรี้ยว มะดัน ตะลิงปลิง มะขามอ่อน หรือมะขามเปียก จะได้คุณค่าทางโภชนาการและรสชาติที่ดีกว่าการใช้สารเคมีล้วนๆ อย่างน้ำมะนาวเทียม ควรเลือกซื้อมะนาวเทียมต้องระวัง ผลิตไม่ปลอดภัยอาจระคายเคืองกระเพาะ ท้องร่วง ชี้ปนเปื้อนสารซัลฟูริกและไฮโดรคลอริก
Brandon Kelley
Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.
Like Reply