Food information

พลิกความเชื่อเรื่องน้ำมันมะพร้าว กับโคเลสเตอรอล

แต่ไหนแต่ไรน้ำมันมะพร้าวถูกตราหน้าว่าเป็นตัวเสี่ยงที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เริ่มจากความรู้ที่ว่าน้ำมันมะพร้าวมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวถึง 86% ซึ่งเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดโคเลสเตอรอลสูงในเลือด จากนั้นก็เกิดโรคหัวใจ อัมพาตตามมา

ดร.บรูซ ไฟฟ์จากสถาบันวิจัยมะพร้าวของฟิลิปปินส์เริ่มให้ข้อคิดใหม่ๆในเรื่องนี้ว่า "ในทางตรงกันข้ามมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นใน 40 ปีที่ผ่านมาว่าการกินน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ทำให้โคเลสเตอรอลสูง" เริ่มจากงานวิจัยของฮาชิมและคณะเมื่อปี 1959 เขาเติมน้ำมันมะพร้าวลงไปในอาหารถึง 21% ของแคลอรีรวมให้กับคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว ผลปรากฏว่าไม่ได้เพิ่มโคเลสเตอรอลของคนเหล่านั้น แต่ตรงกันข้ามมีอยู่ 29 คนที่โคเลสเตอรอลลดลง(Hashim, S.A., et al. Effect of mixed fat formula feeding on serum cholesterol level in man. Am J of Clin Nutr 1959; 7:30-34)

ดร.ไฟฟ์วิเคราะห์ว่า "เรื่องของปริมาณน้ำมันสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าคนเราควรกินน้ำมันได้ไม่เกิน 30% ของแคลอรีรวม และในนั้นควรเป็นไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ดังนั้นการใช้น้ำมันมะพร้าวถึง 21% ให้กินก็ถือว่ามาก แต่โคเลสเตอรอลกลับลดลง"

อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่างานวิจัยไม่ได้ให้ปริมาณไขมันเกิน 30% ของแคลอรีรวม
การวิจัยอีกชิ้นเป็นของ บีเรนบวมและคณะซึ่งติดตามคน 100 คนที่มีประวัติโรคหัวใจเป็นเวลา 5 ปี คนเหล่านี้ควบคุมอาหารไขมันที่ 28% โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ครึ่งหนึ่งของไขมันที่กิน(14%)ของกลุ่มทดลองเป็นไขมันประเภทใดประเภทหนึ่งใน 2 ประเภท ประเภทแรกกินน้ำมันข้าวโพดกับน้ำมันทานตะวัน 50/50 อีกประเภทหนึ่งกินน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันถั่วลิสง 50/50 พอเวลาผ่านไป 5 ปีก็พบว่าเลือดของคนทั้งสองกลุ่มล้วนมีระดับโคเลสเตอรอลลดลง ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม (Bierenbaum, J.L., et al. Modified-fat dietary management of the young male with coronary disease: a five year report.JAMA 1967; 202:1119-1123)

มีข้อสังเกตว่า งานวิจัยนี้มีน้ำมันมะพร้าวในปริมาณ 7% เท่านั้น
อีกงานวิจัยหนึ่งของไพรเออร์และคณะ ตรวจโคเลสเตอรอลในเลือดของชาวเกาะโพลีนีเชียน 2 เกาะ ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้กินมะพร้าวมากอยู่แล้ว มากกว่า 50% ของแคลอรีรวมในอาหารมาจากน้ำมันมะพร้าว พบว่าแม้จะกินน้ำมันมะพร้าวมากขนาดนั้นก็ไม่ปรากฏมีระดับโคเลสเตอรอลสูง(Prior, I.A., et al. Cholesterol, coconuts and diet in Polynesian atolls-a nutural experiment; the Pukupuka and Toklau islands studies. Am J Clin Nutr 1981; 34: 1552-1561)

มีข้อสังเกตว่าชีวิตของชาวเกาะเหล่านี้คงไม่ถูกปนเปื้อนด้วยการกินอาหารตะวันตก นมและผลิตภัณฑ์นมเนย ทั้งคงทำมาหากินแบบใช้เรี่ยวแรงสม่ำเสมอ
ดร.ไฟฟ์ได้วิจารณ์งานวิจัยชิ้นต่างๆในอดีตในสัตว์ทดลองที่ให้กระต่าย ไก่ และหนูทดลองกินน้ำมันมะพร้าวแล้วเกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูงไว้อย่างน่าสนใจว่า น้ำมันมะพร้าวถูกตราหน้าว่าทำให้เกิดโคเลสอเตอรอลสูงก็ด้วยการทดลองในสัตว์ทดลองเหล่านี้แหละ แต่เขามีข้อคิดว่า น้ำมันมะพร้าวที่ให้สัตว์กินนั้นไม่ใช่น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ แต่เป็นสูตรที่ใช้ในห้องทดลอง ซึ่งสูตรอาหารประกอบด้วยไขมัน โปรตีน แป้ง น้ำตาล และเส้นใย สัดส่วนของไขมันและน้ำตาลที่ให้แตกต่างจากที่สัตว์กินโดยธรรมชาติ ดังนั้นสัตว์เหล่านั้นจึงเกิด "โรคคนทำ" ขณะเดียวกันกลไกการหมุนเวียนไขมันในสัตว์กับคนก็แตกต่างกัน อย่างกรณีการใช้กระต่ายโดยธรรมชาติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์กินหญ้า เมื่อให้อาหาร "คนทำ" ย่อมเกิดภาวะผิดธรรมชาติขึ้นได้ การใช้หนูแฮมสเตอร์ซึ่งถ้าป้อนน้ำมันปลาให้มันกินก็จะเกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูงได้เสียยิ่งกว่าการกินน้ำมันมะพร้าวเสียอีก ถ้าเชื่องานวิจัยแบบนั้นก็ต้องตีความว่าน้ำมันปลาก็ทำให้คนเราไขมันเลือดสูงได้

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเป็นของอาห์เรนส์และคณะซึ่งเป็นหลักไมล์ที่ชี้นำความเชื่อว่ากินน้ำมันมะพร้าวทำให้โคเลสเตอรอลสูง เขาป้อนอาหารควบคุมให้กับชนเผ่าบันตูในแอฟริกาใต้ โดยให้ไขมันผสมจำนวน 100 กรัม(ครึ่งถ้วย)แก่ผู้ถูกทดลอง เขาพบว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้โคเลสเตอรอลสูง ขณะที่น้ำมันข้าวโพดลดโคเลสเตอรอล เกี่ยวกับงานวิจัยนี้ดร.ไฟฟ์วิจารณ์ว่าน่าจะมีจุดที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ น้ำมันที่อาห์เรนส์นั้นไม่ใช่น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ กล่าวคือเป็นน้ำมันที่ไฮโดรจีเนตแล้ว ผู้ถูกทดลองถูกจับให้กินน้ำมันมะพร้าวที่ถูกทำให้กลายเป็นไขมันอิ่มตัวทั้งหมดวันละครึ่งถ้วยทุกวัน แน่นอนว่าการกินน้ำมันอิ่มตัวทุกชนิดย่อมทำให้โคเลสเตอรอลสูง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดก็ตาม และจากงานวิจัยนี้ทำให้เกิดกระแสความเชื่อเรื่องผลร้ายของน้ำมันมะพร้าว

การทำไฮโดรจีเนตคือการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นไขมันอิ่มตัว ผลของกระบวนการนี้ให้เกิดภาวะเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์แก่ไขมัน ทำให้มันจับตัวเป็นไขแข็ง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ให้น้ำมันเกิดการบิดตัวทางโครงสร้างเรขาคณิตของโมเลกุล คือเปลี่ยนจาก cis form เป็น trans form ในโลกสุขภาพทุกวันผู้รักสุขภาพจะได้ยินข่าวเรื่อง ไขมัน trans fat ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ไขมันสูง ไม่เฉพาะแต่น้ำมันที่ถูกทอดซ้ำๆในกระบวนผลิตอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ทำให้เกิด trans fat เท่านั้น แม้กระทั่ง น้ำมันทานตะวันที่ถูกไฮโดรจีเนต หรือน้ำมันถั่วลิสงที่รู้จักกันในนาม peanut butter ซึ่งเราเคยใช้ทาขนมปังกินกันนั้น ก็เป็นน้ำมันที่ถูกเติมไฮโดรเจน กลายเป็นพิษภัยต่อสุขภาพ หลังเดือนกันยายน 2000 น้ำมันสองชนิดหลังนี้ถูกขึ้นบัญชีดำในตารางอาหารของชาวอเมริกันไปเรียบร้อยแล้ว

ด้วยเหตุนี้ชนเผ่าบันตูในงานวิจัยของอาห์เรนส์น่าจะเป็นชนเผ่าแรกๆที่ถูกป้อนด้วยน้ำมัน trans fat และเกิดโรคไขมันเลือดสูงและหลอดเลือดแข็งตัว ข้อสรุปน่าจะเป็นอย่างนี้ มากกว่าการไปสรุปที่น้ำมันมะพร้าว

อีกประการหนึ่งสัตว์ทดลองของอาห์เรนส์เกิดโรคขึ้นเพราะภาวะขาดกรดไขมันจำเป็นด้วย
ดร.ไฟฟ์ได้ชี้ถึงความสำคัญของกรดไขมันจำเป็น (essential fatty acid) ซึ่งได้แก่กรดไขมันโอเมก้า 3, 6 และ 9 (ได้แก่น้ำมันปลา น้ำมันพืชชนิดต่างๆ และน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันเมล็ดชา) ว่ามีความสำคัญที่ทำให้คนเราสุขภาพดี ถ้าขาดกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้ก็เกิดโรคได้

โมรินและคณะได้วิจัยอีกชิ้นหนึ่งให้สัตว์ทดลองกลุ่มที่หนึ่งกินอาหารขาดไขมันโดยไม่มีกรดไขมันจำเป็นเลย กลุ่มที่สองกินอาหารที่มีกรดไขมันจำเป็นครบ เมื่อกินไป 16 สัปดาห์ก็ให้ทั้งสองกลุ่มหันมากินน้ำมันมะพร้าวไฮโดรจีเนต ปรากฏว่าหนูกลุ่มแรกเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ขณะที่หนูกลุ่มที่สองไม่เกิดโรคเลยแม้แต่ตัวเดียว(Morin, R.J., et al. Effects of essential fatty acid deficiency and supplementation on atheroma formation and regression. J Atheroscler Res 1964; 4:387-396) ข้อสรุปชี้ให้เห็นว่าภาวะขาดกรดไขมันจำเป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ถ้าเป็นเหตุเพราะน้ำมันมะพร้าวแล้ว ย่อมต้องเกิดโรคในสัตว์ทั้งสองกลุ่ม

เหล่านี้คือ ข้อมูลและการตีความใหม่ๆว่าด้วยความเชื่อเรื่องน้ำมันมะพร้าวกับโรคไขมันและหัวใจหลอดเลือด สำหรับคนไทยที่จะหันมานิยมน้ำมันมะพร้าวก็ต้องพิจารณาอย่างเป็นกลาง นั่นคือกินอาหารไขมันไม่ให้ล้นเกิน คือกินอยู่แบบชาวเกาะ แถมกินน้ำมันแบบหมุนเวียนหลากหลาย หลีกเลี่ยงน้ำมันทอดซ้ำไม่ใช่ว่าเห่อกินน้ำมันมะพร้าวแล้วยังคงกินฟาสต์ฟู้ด ดื่มนม กินอาหารตะวันตกอย่างมูมมาม แถมไม่ออกกำลังกาย แล้วจะหวังว่าจะมีของวิเศษหล่นมาจากยอดมะพร้าว มาช่วยให้คุณอยู่รอดปลอดภัยได้

บทความจาก:: มติชน

Related post

2 Comments

  1. 27 Aug 2018
    Brandon Kelley

    Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

    Like Reply
    1. 27 Aug 2018
      Brandon Kelley

      Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

      Like Reply
  2. 27 Aug 2018
    Brandon Kelley

    Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

    Like Reply

Leave A Comment

Review & Restaurant
ชวนไปกิน รวมร้านอร่อยเด็ดที่งาน IMPACT X เชลล์ชวนชิม 3
ชวนไปกิน รวมร้านอร่อยเด็ดที่งาน IMPACT X เชลล์ชวนชิม 3
เปิดแล้ว! Tonkatsu AOKI ร้านหมูทอดทงคัตสึต้นตำรับ สาขาใหม่ Velaa สินธรวิลเลจ
เปิดแล้ว! Tonkatsu AOKI ร้านหมูทอดทงคัตสึต้นตำรับ สาขาใหม่ Velaa สินธรวิลเลจ
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok

Cooking Recipe

View all

Click Now
Populer Post
สลัดส้มโอ
สลัดส้มโอ
ความอ้วน..กวนใจ..จากไก่ทอดไร้กระดูก
ความอ้วน..กวนใจ..จากไก่ทอดไร้กระดูก
ยำผสมกุ้งลวก ไข่ต้ม
ยำผสมกุ้งลวก ไข่ต้ม
วิธีทำ น้ำฟักข้าว
วิธีทำ น้ำฟักข้าว
ข้าวหมกสมุนไพร
ข้าวหมกสมุนไพร
Breadcrumbs เกล็ดขนมปังป่น
Breadcrumbs เกล็ดขนมปังป่น