บัวบก (Asiatic Pennywort)

บัวบก ชื่อพื้นเมือง บัวบก ผักหนอก ผักแว่น เตียกำเช้า บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอติดติดเลื้อยไปตามดินเรียกว่า "ไหล" มีใบรากออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างกล้ายไตหรือกลม ขอบใบหยักมีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ผิวใบด้านนอกเรียบ ด้านล่างมีขนสั้นๆ ก้านใบยาว ดอกเป็นช่อคล้ายร่ม ออกครั้งละ 2-3 ช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ ผลมีเปลือกแข็งยาว 2-2.5 มิลลิเมตร สีเขียวหรือม่วง การปลูกบัวบกเป็นพืชเขตร้อน พบขึ้นทั่วไปตามที่ลุ่มแฉะ ตามคันนาและริมหนองน้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเห็ด ปักชำไหล ปลูกง่าย ชอบที่ชื้นแฉะและมีแสงแดดส่องถึง
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นสด ใบและเมล้ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุกๆวันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวงโดยไม่ต้องไปรับประทานยา ทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ

- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
- รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง
- ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
- อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็ง ดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป
การทดลองและวิจัยมีรายงานพอน่าเชื่อถือได้ ว่าแก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา นอกจากนี้ใช้ใบบัวบกรักษาแผลเรื้อรัง แผลอักเสบได้ผลดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้ใบและเถา รสกรอบมัน รับประทานเป็นผัก ปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกเอาไปรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยได้อย่างเอร็ดอร่อยเข้ากันได้ดีมาก เคี้ยวก๋วยเตี๋ยวผัดไทยไปพลางแกล้มด้วยใบบัวบกได้รสชาติที่ดีจริงๆหรือใช้เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ดทางใต้ หรือนำมาหั่นแกงกะทิกับกุ้งก็อร่อยเช่นกัน ที่นิยมกันมากคือน้ำใบบัวบกมีผู้ไปทำขายเป็นเครื่องดื่มมีกลิ่มหอมรสดี บวกกับความหวาน ความเย็นแสนจะชื่นใจ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด มีประโยชน์คับแก้ว แต่ไม่ควรนำสีมาผสม เพราะไม่ใช่สีธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เราควรทำน้ำใบบัวบกดื่มเองจะดีกว่า ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อน
คุณค่าทางโภชนาการ ใบบัวบก 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วยน้ำ | 86.0 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 7.1 กรัม |
โปรตีน | 1.8 กรัม |
ไขมัน | 0.9 กรัม |
กาก | 2.6 กรัม |
แคลเซียม | 146 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 30 มิลลิกรัม |
เหล็ก | 3.9 มิลลิกรัม |
วิตามินเอ | 10,962 IU |
วิตามินบี 1 | 0.24 มิลลิกรัม |
วิตามินบี 2 | 0.09 มิลลิกรัม |
ไนอาซีน | 0.8 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 4 มิลลิกรัม |
จะเห็นว่าบัวบกเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจมาก มีสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางยา ทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูง การใช้ใบบัวบกเป็นอาหารและเป็นเครื่องดื่มจึงดีกว่าซื้อยาบำรุงกำลังดื่มเสียอีก โดยเฉพาะมีวิตามินเอสูงมาก ควรรับประทานบ่อยๆเป็นประจำ
Brandon Kelley
Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.
Like Reply