พริก เรื่องเผ็ดร้อนที่น่ารู้
ตั้งแต่เล็กจนโตเราจะพบว่าในอาหารไทยส่วนใหญ่ มีพริกเป็นเป็นเครื่องปรุงอยู่ด้วยเสมอ เดิมเราจะได้ยินอยู่เสมอว่าการบริโภคพริกมากเกินไปไม่มีประโยชน์ แต่เมื่อมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพริกมากขึ้น ทำให้เราพบว่า นอกจากพริกจะมีสีสัน และความเผ็ดร้อนจะช่วยให้อาหารดูดีมีรสชาติขึ้นแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยา เป็นอาหารเสริมสุขภาพอีกด้วยพริกเป็นพืชในวงศ์โซลานาซิอี (Solanaceae) เช่นเดียวกับมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ และอยู่ในสกุลแคปซิคัม (Capsicum) ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และมีประวัติการใช้มายาวนานหลายพันปีก่อนที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะสำรวจพบทวีปอเมริกาเสียอีก เมื่อเขาได้ลิ้มลองรสชาติที่น่าพิศวง เขาจึงนำพืชชนิดนี้ไปเผยแพร่ในยุโรป โดยเรียกชื่อเสียใหม่ว่า พริกแดง ( red pepper) ตามลักษณะของสี
หลายคนสงสัยว่าทำไมพริกจึงมีรสเผ็ด? จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่าในพริกมีสารเคมีชื่อ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ด แคปไซซินเป็นสารธรรมชาติจำพวกอัสคาลอยด์ มีสูตรโมเลกุลคือ C18H27NO3 เสน่ห์ของพริกไม่ได้อยู่ที่ความเผ็ดแต่เพียงอย่างเดียว แต่คุณค่าทางอาหารคือสิ่งที่ทำให้พืชชนิดนี้ได้รับความสนใจ ในการค้นคว้าและทดลองอย่างกว้างขวาง สีเหลือง สีส้ม และสีอื่นๆที่มีอยู่มากมายถึง 20 ชนิดในพริกก็เป็นสารที่ให้ประโยชน์ ที่สำคัญได้แก่ เบตาแคโรทีน (Beta-carotene ) เป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา
นอกจากนี้พริกยังมีวิตามินซีอยู่ในปริมาณที่สูงมากโดยมีปริมาณที่สูงมากกว่าในผลส้มเสียอีก โดยในพริก 28 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง100 มิลลิกรัม และวิตามินเอถึง 16,000 หน่วย
ในปี พ.ศ. 2456 หรือประมาณ 90 ปี มาแล้ว มีผู้ริเริ่มวัดค่าความเผ็ดของพริกเป็นคนแรก คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันนี ชื่อ วิลเบอร์ สโควิลล์ (Willbur Scoville) โดยใช้กลุ่มคนที่ชอบทานพริกเป็นกลุ่มทดลอง ต่อมาได้มีการพัฒนาเครื่องมือชื่อ เอช พีแอล ซี (HPLC pressure liquild chromatography) เข้าช่วยวัด และปรากฏผลความเผ็ดดังนี้
อันดับที่หนึ่ง ฮาบาเนโรแดงซาวีนา มีความเผ็ด 580,000 หน่วย นับว่าเผ็ดที่สุดในโลก
อันดับที่สอง ฮาบาเนโร
อันดับที่สาม พริกขี้หนู พริกสก็อต บอนเนท พริกจาเมก้า
อันดับที่สี่ พริกชี้ฟ้า เป็นพริกที่มีความเผ็ดระดับปานกลาง
อันดับที่ห้า พริกหยวก หรือพริกหวาน เป็นพริกที่ไม่มีความเผ็ดเลย มีความเผ็ดเป็น 0 หน่วย
ประโยชน์ของพริก
1. ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด และทำให้การหายใจสะดวกขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือสารกีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องจากการเป็นหวัด
2. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารพวกเบต้าแคโรทีน และวิตามินซีช่วยเสริมสร้างหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเทอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเทรอลชนิดไม่ดี ( LDL)
4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
5. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
6. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ที่ดี
Brandon Kelley
Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.
Like Reply