Healthy Food

ประวัติของอาหารกิมจิ

ตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกมานั้น ผักเป็นที่ชื่นชอบเนื่องจากมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย อย่างไรก็ดีในฤดูหนาวเมื่อการเพาะปลูกไม่เอื้ออำนวยจึงได้นำไปสู่การพัฒนาการการถนอมอาหารโดยวิธีการหมักดอง กิมจิซึ่งเป็นผักดองชนิดหนึ่งจึงถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 7
  

กำเนิดการใช้พริกเผ็ดป่น
แรกทีเดียว กิมจิเป็นผักดองเค็มดีๆนี่เอง แต่ในระหว่างศตวรรษที่ 12 ได้มีการทำกิมจิในรูปแบบใหม่ที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสและในศตวรรษที่ 18 พริกเผ็ดป่นก็ได้มาเป็นส่วนผสมที่สำคัญของกิมจิในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบคุณการนำเอากะหล่ำปลีเข้ามาในศตวรรษที่ 19 มาทำเป็นกิมจิซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันนี้

ที่มาของชื่อกิมจิ
เป็นที่น่าสงสัยกันมาตลอดว่าชื่อกิมจินี้คงมาจากคำว่าชิมเช (Shimchae) (ผักดองเค็ม) แต่ด้วยสำเนียงที่เปลี่ยนไป ก็จะกลายเป็น: ชิมเช - คิมเช - กิมเช - กิมจิ

ทำไมกิมจิถึงได้มีการพัฒนาในประเทศเกาหลี
ในโลกนี้มีอาหารประเภทผักหมักดองไม่กี่ชนิด เหตุผลเป็นไปได้ว่ากิมจิได้รับการพัฒนาเป็นอาหารหมักขึ้นชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเกาหลีมีดังนี้: 
1) ผักต่างๆเป็นที่นิยมของคนโบราณในประเทศเกาหลี การผลิตที่สำคัญคือการเกษตรกรรม 
2) ชาวเกาหลีมีวิธีการที่น่าทึ่งในการหมักปลาเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงรส 
3) กะหล่ำปลี (Brassica) ซึ่งเหมาะในการทำกิมจิมีปลูกอยู่ทั่วไป

มีการบอกเล่ากันมาว่าการพัฒนากิมจิมีรากฐานมาจากสมัยนิยมการถือครอบครองที่ดินสำหรับพระซึ่งเริ่มมีมาก่อนสมัยของสามอาณาจักรบนคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากฤดูหนาวอันหนาวเหน็บนั้น ผู้คนในสมัยนั้นจำต้องรู้วิธีการถนอมอาหารประเภทผักเพื่อเก็บรักษาไว้

กิมจิในสมัยโบราณ
เป็นการยากที่จะพิสูจน์ขบวนการการพัฒนากิมจิในสมัยโบราณเพราะการบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นแทบจะไม่มีเลย เราเพียงแต่สันนิษฐานเอาว่าใช้วิธีการนำผักมาดองเกลือเพื่อที่จะเก็บรักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้เท่านั้น
     
กิมจิในสมัยอาณาจักรโคเรียว
แม้จะไม่มีการบันทึกแน่ชัดลงไปว่ามีการพบกิมจิในสมัยก่อน กะหล่ำปลีได้ถูกกล่าวถึงในตำรายารักษาโรคทางภาคตะวันออกเรียกว่า ฮันยักกูกึบบัง (Hanyakgugeupbang) มีกิมจิสองชนิดคือ กิมจิ-จางอาจิ (Kimchi-jangajji) (หัวไชเท้าฝานเป็นแผ่นดองด้วยซอสถั่วเหลือง) และ ซุมมู โซกึมชอลรี (Summu Sogeumjeori - หัวไชโป๊) สมัยนี้กิมจิเริ่มได้รับความสนใจว่าเป็นอาหารแปรรูปที่ชื่นชอบโดยไม่คำนึงถึงฤดูกาลและการเก็บรักษาในฤดูหนาว สงสัยกันว่าการพัฒนาให้มีรสชาติในสมัยนั้นคือการทำกิมจิให้มีรสจัดจ้าน
     
กิมจิในสมัยโชซอน
หลังจากที่ได้มีการนำผักจากต่างประเทศเข้ามา กะหล่ำปลีใช้เป็นผักหลักในการทำกิมจิโดยทั่วไป ต้นศตวรรษที่ 17 (หลังจากที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานในปี ค.ศ. 1592) มีการนำเข้าพริกจากประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นราว 200 ปี พริกได้ถูกใช้เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งของกิมจิ ดังนั้นราวปลายสมัยโชซอนสีของกิมจิจึงกลายมาเป็นสีแดง
     
กิมจิในราชสำนักโชซอน
ตามปกติมีกิมจิสามชนิดที่ได้ถูกนำขึ้นมาถวายต่อกษัตริย์ในราชวงศ์โชซอน ได้แก่กะหล่ำปลีล้วน ชอทกุกจิ (Jeotgukji) เป็นกิมจิที่ผสมด้วยปลาหมักจำนวนมาก กิมจิหัวไชเท้า หรือ คักดูกิ (kkakdugi) และกิมจิน้ำตำราอาหารของโชซอน คือ โชซอน มูซางซานชิก โยรีเจบ็อบ (Joseon massangsansik yorijebeop) อธิบายการทำ ชอทกุกจิดังนี้: 
1) ขั้นตอนแรกหั่นกะหล่ำปลีและหัวไชเท้าที่ล้างสะอาดแล้วเป็นชิ้นเล็กๆแล้วหมักเกลือ
2) นำมาผสมกับพริกแดงสับ กระเทียม ดรอบวอท (มินาริ -minari) ใบมัสตาด และสาหร่ายทะเล
3) ต้มปลาหมักแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
4) ผสมน้ำปลาต้มกับเครื่องปรุงทั้งหมด
5) นำไปหมักในหม้อแล้วปล่อยทิ้งไว้จนได้ที่
     
แม้หัวไชเท้าและน้ำจะเป็นวัตถุหลักในการทำกิมจิน้ำ (dongchimi) ยังมีเครื่องปรุงหลายอย่างใช้ในการเพิ่มรสชาติสำหรับราชสำนักโชซอน หัวไชเท้าที่นำไปทำกิมจิน้ำจะต้องมีรูปทรงที่ดีและจะต้องล้างและหมักด้วยเกลือก่อนที่จะนำไปหมักในไหฝังดิน มีเกร็ดเล็กน้อยว่ากษัตริย์โกชอง (Gojong) กษัตริย์องค์รองสุดท้ายของโชซอน โปรดก๋วยเตี๋ยวเย็นผสมในกิมจิน้ำพร้อมด้วยน้ำซุปเนื้อเป็นอาหารมื้อค่ำในฤดูหนาว ดังนั้นจึงมีการทำกิมจิน้ำตำหรับพิเศษโดยมีลูกแพร์เป็นส่วนผสมใช้ทำก๋วยเตี๋ยวเย็นโดยเฉพาะ

กิมจิสมัยใหม่
มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์พบว่ากิมจิเป็นอาหารบำรุงอย่างดีและมีนักโภชนาการทั้งหลายยังได้แนะนำให้เป็นอาหารในอนาคตสำหรับการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นกิมจิจึงเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวเกาหลีที่เดินทางเข้าประเทศจีน รัสเซีย และ เกาะฮาวาย และ ญี่ปุ่น เป็นคนแรกที่แนะนำกิมจิและรับประทานกิมจิเป็นเครื่องเคียงและค่อยๆเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆในหมู่ชาวต่างชาติ ด้วยประการฉะนี้จะพบกิมจิได้ในที่ที่มีชาวเกาหลีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีชาวเกาหลีมากมาย กิมจิบรรจุกล่องหาได้ง่าย แต่ก่อนการผลิตและการบริโภคกิมจิจะอยู่ในสังคมชาวเกาหลีเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นอาหารของโลกไปแล้ว

Related post

2 Comments

  1. 27 Aug 2018
    Brandon Kelley

    Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

    Like Reply
    1. 27 Aug 2018
      Brandon Kelley

      Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

      Like Reply
  2. 27 Aug 2018
    Brandon Kelley

    Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.

    Like Reply

Leave A Comment

Review & Restaurant
ชวนไปกิน รวมร้านอร่อยเด็ดที่งาน IMPACT X เชลล์ชวนชิม 3
ชวนไปกิน รวมร้านอร่อยเด็ดที่งาน IMPACT X เชลล์ชวนชิม 3
เปิดแล้ว! Tonkatsu AOKI ร้านหมูทอดทงคัตสึต้นตำรับ สาขาใหม่ Velaa สินธรวิลเลจ
เปิดแล้ว! Tonkatsu AOKI ร้านหมูทอดทงคัตสึต้นตำรับ สาขาใหม่ Velaa สินธรวิลเลจ
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok

Cooking Recipe

View all

Click Now
Populer Post
สูตรบราวนี่หน้ากรอบ แบบง่ายๆ
สูตรบราวนี่หน้ากรอบ แบบง่ายๆ
เมนูง่ายๆ ไส้กรอกผัดซอสมะเขือเทศ
เมนูง่ายๆ ไส้กรอกผัดซอสมะเขือเทศ
ข้าวหน้าเนื้อใจเสือ
ข้าวหน้าเนื้อใจเสือ
เคล็ดลับชะลอความแก่ แบบสาวญี่ปุ่น
เคล็ดลับชะลอความแก่ แบบสาวญี่ปุ่น
หลนปูเค็ม
หลนปูเค็ม
องุ่นวิปปิ้งครีม
องุ่นวิปปิ้งครีม