ที่มาขนมปาท่องโก๋ของคนไทย
ประเทศจีนราวปี พ.ศ. 297 "ใจก๊วย" เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าชิวั่งตี่ มีหน้าที่คอยเพ็ดทูลแนะนำสิ่งต่างๆถวาย ได้รับหนังสือลับจากกองทัพตาด ให้กราบทูลแนะนำกษัตริย์ให้ยอมแพ้แก่ตาดจะปูนบำเหน็จให้ ด้วยความโลภใจก๊วยจึงทำตาม
กองทัพตาดจึงเข้าเมืองได้ เณรเทศพระเจ้าพระเจ้าชิวังตี่ออกนอกประเทศ แล้วแต่งตั้งใจก๊วยเป็นกษัตริย์ขูดรีดจากประชาชน
กังฟู(ขุนพลของพระเจ้าชิวั่งตี่)จึงรวบรวมผู้คนยกทัพเข้าตีเมืองหลวงได้ ครั้นกังฟูสิ้นชีวิตลง ชาวจีนระลึกถึงคุณงามความดี พร้อมใจสร้างศาลเจ้าเพื่อสักการะบูชา พร้อมกับรูปปั้นใจก๊วยไว้หน้าประตูศาลเจ้า
ทุกวันที่ชาวจีนไปสักการะในศาลเจ้าของกังฟู จะเขกศรีษะรูปปั้นใจก๊วยทุกคน
นานเข้ารูปปั้นหดหายเหลือแค่คอ เพื่อลงโทษให้สาสามจึงได้คิดทำขนมใช้แป้งปั้นเป็นตัวใจก๊วยไม่มีคอ ทอดน้ำมันกำลังเดือด ขนมชื่อ" อิ้วใจก๊วย" (ใจก๊วยถูกทอดในน้ำมัน)
เมื่อขนมชนิดนี้เข้าในสมัยรัชกาลที่ 6 ใหม่ๆ มีซิ้มแก่ๆหาบขนมนี้มาขายพร้อมกับปาท่องโก๋(มีลักษณะคล้ายซาลาเปา แต่มีงาโรยหน้า) ปากก็ร้องขายขนมปาท่องโก๋
คนไทยซื้อขนมอิ้วใจก๊วยมารับประทาน โดยคิดว่าชื่อปาท่องโก๋เลยเรียกขนมชนิดนี้ว่า "ปาท่องโก๋" ติดปากมาจนทุกวันนี้
ที่มา: หนังสือสารคดี ทวีปัญญา โดย ประยงค์ อนันทวงศ์
Brandon Kelley
Neque porro qui squam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora.
Like Reply