สมุนไพรในบ้าน
ในแต่ละปีคนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเป็นแสนล้านบาท การดูแลสุขภาพตนเองหรือคนในครอบครัวเป็นหนทางหนึ่งในการพึ่งตนเอง โรคที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีอันตรายมาก เราอาจใช้สมุนไพร บรรเทาอาการหรือรักษาได้โดยไม่ต้องพึ่งยาฝรั่งที่มีราคาแพง ดังที่อาจารย์ประเวศ วะสี เคยพูดว่า คนไทยเวลาจะถ่ายต้องจ่ายเงิน ให้ฝรั่งมาถ่ายให้ ในครัวเรือนแต่ละบ้านมีพืชสมุนไพรที่ใช้ประจำอยู่มากมายโดยที่เราไม่รู้ หากรู้เราจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ยาชง พืชแห้งบดเป็นผงหยาบ 1 ช้อนชา (พืชสดใช้ขนาดสองเท่า ทุบให้ช้ำก่อน) ต่อน้ำเดือด 1 ถ้วยชา ถ้าต้องการรสอ่อนให้เติมน้ำมากขึ้น ถ้าเป็นเมล็ดทุบให้แตกใช้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 3-4 ถ้วยชา ก่อนชงให้อุ่นภาชนะ (กา) ภาชนะที่ใช้ควรเป็นกระเบื้องเคลือบหรือแก้ว เติม สมุนไพรลงไปแล้วรินน้ำที่กำลังเดือดตามลงไปในอัตราส่วนที่กล่าวมาแล้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงรินดื่มขณะร้อน ไม่ควรแช่ นานเกินไป เพราะจะทำให้ได้สารอื่นที่มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ละลายออกมา เช่น ชาจีน ถ้าชงแช่น้ำนานเกินไปจะทำให้ท้องผูก ดังนั้น ถ้าต้องการแก้ท้องเสียควรใช้เวลาต้มชาให้นาน นอกจากนี้ควรใช้ชาสมุนไพรที่ชงขึ้นสดใหม่ ไม่ใช้กากสมุนไพรหรือน้ำชาข้ามวัน เพราะชาที่ได้จะบูดเสีย ยาต้ม ขี้ผึ้งสมุนไพร เหมาะสำหรับตัวยาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในน้ำมันหรือเหล้า เช่น แคปซายซิน (มีในพริก) หรือน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชต่าง ๆ การเตรียมขี้ผึ้งสมุนไพรมีสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเตรียมขี้ผึ้งและขั้นตอน การเตรียมยาสมุนไพร ขั้นตอนการเตรียมขี้ผึ้ง ใช้ขี้ผึ้ง (beeswax) ผสมกับน้ำมันพืชนอัตราส่วน 1:4 ถ้าต้องการให้เนื้อขี้ผึ้งแข็งให้เติมขี้ผึ้งให้ มากขึ้น นำมาอุ่นบนหม้ออังไอน้ำคนให้เข้ากัน แล้วยกลงทิ้งไว้สักครู่ หรืออาจใช้วาสลินเป็นเนื้อขี้ผึ้งก็ได้ ขั้นตอนการเตรียมยาสมุนไพร มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของตัวยาจำพวกน้ำมันหอมระเหยให้ใช้สมุนไพรมากลั่นโดยตรง พวกที่กลั่นไม่ได้ให้ใช้เหล้าสกัด นำมาระเหยให้ตัวยาเข้มข้นขึ้น หรือใช้น้ำมันสกัด โดยแบ่งน้ำมันพืชจากอัตราส่วนที่ใช้ทำขี้ผึ้งมาอุ่น กับสมุนไพรก่อนประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำมันไว้ คำนวณปริมาณของทั้งสองส่วน เพื่อให้ได้ขี้ผึ้งที่มีตัวยาตามที่ต้องการ แล้วนำมาผสมเข้าด้วยกัน เทคนิคในการผสม ให้แบ่งจำนวน ขี้ผึ้งหรือวาสลินให้ใกล้เคียงกับปริมาณตัวยา แล้วผสมให้เข้ากัน แบ่งขี้ผึ้งที่เหลือนั้นมาอีกครั้งให้ใกล้เคียงกับจำนวนที่ผสมอยู่ ผสมให้ เข้ากันอีก ทำเช่นนี้จนเนื้อขี้ผึ้งที่คำนวณไว้หมด จะได้ขี้ผึ้งที่มีเนื้อเดียวกัน ยาพอกสมุนไพร หากใช้สมุนไพรใดแล้วอาการดีขึ้น ควรจดบันทึกสภาพแวดล้อม อาการและวิธีการใช้เพื่อนำมาใช้เผยแพร่แก่ผู้อื่นต่อไป หรือหากใช้แล้ว อาการไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาผู้รู้เพื่อหาวิธีการรักษาอื่น ๆ ต่อไป |
สรรพคุณสมุนไพรในบ้าน | ||
---|---|---|
อาการโรค | สมุนไพร | วิธีใช้ |
ขจัดรังแค ทำให้ผมนุ่ม สลวย ผมดำ ไม่หงอกก่อนวัย |
มะกรูด | 1. นำมะกรูด 1-2 ผลเผาโดยใช้ถ่าน หรือต้มให้สุก (หากต้องใช้เตาแก๊ส) คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาขยี้ให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้สักครู่ แล้วออก ด้วยน้ำสะอาด 2. นำมะกรูดมาปอกเอาแต่ผิว ๆ แล้วตำให้พอแหลก คั้นน้ำจากลูกผสมลงไป คนให้เข้ากันนำมาขยี้ให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้สักครู่ล้างออกด้วย น้ำสะอาด หากใช้ไม่หมดสามารถแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ |
มะนาว | ใช้น้ำคั้นจากผลมะนาวสด สระผมเช่นเดียวกับมะกรูด | |
แก้หวัด คัดจมูก | หอมแดง | 1. นำหอมแดงทุบให้แตก ใส่ลงในน้ำเดือด เปิดฝาหม้อบางส่วนให้ไอน้ำขึ้นมารมบริเวณใบหน้า คอยสูดไอน้ำเข้าไประวังอย่าเปิดฝาหม้อทีเดียว เพราะไอน้ำจะลวกหน้าได้ 2. นำหอมแดงมาตำสุมบริเวณกระหม่อมเด็ก 3. นำหอมแดงมาทุบให้แตก ใส่จานวางไว้ตรงหัวนอน จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกเวลานอน |
ขมิ้นชัน | นำขมิ้นมาฝาน ใช้ดมแก้หวัด คัดจมูก | |
ไอแบบมีเสมหะ | มะขาม | 1. นำมะขามเปียกหรือมะขามที่แก่จัดมาคั้นน้ำเติมเกลือเล็กน้อย จิบทีละนิด ๆ 2. มะขามเปียกประมาณ 1 ปั้น นำไปต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วจึงเติมเกลือและน้ำตาล ให้จิบหรือ ดื่มแทนน้ำ ระวังหากดื่มมากไปจะเป็นยาระบายท้อง |
มะนาว | น้ำคั้นจากมะนาวสด 1 ผล ผสมกับน้ำผึ้ง ปริมาณเท่าน้ำมะนาว เติมเกลือหยิบมือ คนให้เข้ากัน จิบบ่อย ๆ | |
เจ็บคอ | กระเทียม | นำกระเทียมมาตำแล้วคั้นน้ำผสมด้วยน้ำอุ่น เติมเกลือเล็กน้อย ใช้กลั้วคอ |
ขิง | ใช้เหง้าขิงแก่ ๆ ฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ | |
ผักชี | ใช้เมล็ดบดเป็นผงผสมน้ำดื่ม | |
บำรุงร่างกาย (หลังเจ็บป่วย) |
ถั่วเขียว | นำถั่วเขียวมาต้มกับน้ำตาล-กรวด กินเป็นถั่วเขียวต้ม |
กลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่น | ฝรั่ง | 1. เด็ดใบฝรั่งมาเคี้ยวสด ๆ 2. เด็ดใบฝรั่งสด 1-2 ใบ มาตำคั้นน้ำบ้วนปาก 3. กินผลฝรั่งสด ๆ |
เกลือ | นำเกลือมาละลายน้ำ อมกลั้วปากและคอทุกเช้า | |
ผักชี | 1. นำเมล็ดมาเคี้ยว 2. ใช้เมล็ดเติมน้ำ 5 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน เอาน้ำบ้วนปาก | |
เลือดออกตามไรฟัน | มะนาว | คั้นน้ำมะนาวดื่มทุกวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ |
ฝรั่ง | กินผลฝรั่งสดทุกวัน | |
เหงือกบวม | ผักบุ้ง | 1. ใช้ต้นต้มกับเกลืออมบ้วนปากเป็นระยะๆ 2. ใช้รากผักบุ้งจีนตำกับเกลือมาก ๆ พอก จะบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว |
ปากนกกระจอก | ข้าวกล้อง | กินข้าวกล้องแทนข้าวขาวทุกวันสักระยะหนึ่งก็จะหาย |
ท้องผูก | กล้วยน้ำว้า | กินกล้วยน้ำว้าสุก วันละ 1 ผล |
แมงลัก | นำเมล็ดแมงลักมาแช่น้ำให้พอง กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ | |
มะขามเปียก | น้ำคั้นมะขามเปียกดื่ม | |
ท้องร่วง ท้องเสีย |
ชาจีน | ใช้ใบชาประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้รสฝาด จิบเป็นระยะ ๆ เมื่อหยุดถ่ายก็หยุดดื่ม |
กล้วยน้ำว้า | 1. ใล้กล้วยน้ำว้าห่าม กินดิบ ๆ คั้งละครึ่ง-1 ผล 2. นำกล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ใช้ผงกล้วยดิบชงน้ำร้อนดื่มครั้งละครึ่งถึง 1 ผล | |
ทับทิม | ใช้เปลือกผลทับทิมตากแดดให้แห้ง นำมาชงน้ำร้อนดื่ม | |
ท้องอืด แน่นเฟ้อ เรอเปรี้ยว |
กะเพรา | ใช้ใบสด 6-9 กรัม หรือใบแห้ง 3-6 กรัม ชงกับน้ำเดือดดื่มแทนชา |
ถั่วฝักยาว | ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำคั้นเอาน้ำดื่ม | |
ขิง | นำขิงแก่สด 3 หัว หัวโตขนาดหัวแม่เท้า ยาวประมาณ 5 นิ้ว มาทุบให้แตก ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือครึ่งแก้ว (ประมาณ 15-30 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินน้ำดื่ม | |
ตะไคร้ | 1. นำตะไคร้ทั้งต้นรวมรากด้วยจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อนต้มกับเกลือ ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละแก้ว 2. นำลำต้นแก่สด ๆ ทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม | |
ข่า | 1. ใช้เหง้าขนาดหัวแม่มือ (สดประมาณ 5 กรัม แห้งประมาณ 2 กรัม) ทุบให้แตกต้มรินน้ำดื่ม 2. เอาหัวข่าแก่ ๆ ยาวประมาณ 1-1/2 นิ้ว มาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คนให้เข้ากันดีแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง รินน้ำดื่ม | |
กระชาย | ใช้เหง้าแห้งประมาณ 1 กำมือ ต้มรินน้ำดื่ม | |
แมงลัก | ใช้ใบและยอด 1 กำมือ ต้มรินน้ำดื่ม | |
โรคกระเพาะ ปวดท้องกระเพาะ |
กล้วยน้ำว้า | ใช้กล้วยน้ำว้าดิบตากแห้ง บดเป็นผง ชงกับน้ำให้ข้น แล้วดื่ม |
ขมิ้นชัน | ใช้หัวขมิ้นชันแก่ ๆ สด ๆ ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นแง่งหรือแขนงตรงส่วนหัวไม่ใช้ นำไปล้าง ให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ 2-3 วัน จากนั้นจึงนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดปลายนิ้วก้อย กินหลังอาหารทุกมื้อ ครั้งละประมาณ 2-3 เม็ด | |
ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย |
มะขาม | เนื้อในเมล็ด 20-25 เมล็ด ต้มกับน้ำ กินครั้งเดียว เป็นยาถ่ายพยาธิ |
วิงเวียน คลื่นเหียน เมารถ แพ้ท้อง |
ขิง | 1. นำขิงแก่สด ๆ มาทุกต้มรินน้ำดื่ม 2. กินอาหารที่ประกอบด้วยขิง เช่น ไก่ผัดขิง หมูผัดขิง |
มะนาว | คั้นน้ำมะนาวเติมน้ำหวาน ดื่มเป็นน้ำมะนาว | |
ผักชี | นำเมล็ดมาขยี้ดม | |
กะเพรา | ใช้ใยและยอด 2 กำมือ ต้มรินน้ำดื่ม | |
ริดสีดวงทวาร (เริ่มเป็นเล็กน้อย) |
กล้วยน้ำว้า | ใช้กล้วยน้ำว้าสุก 2 ลูก ปิ้งอย่าให้เปลือกไหม้ กินทั้งเปลือก |
ผักบุ้ง | 1. ใช้ต้นต้มกับน้ำตาล นำน้ำมาดื่ม 2. ใช้ต้นสด ๆ มาตำพอกที่ริดสีดวงทวาร | |
ผักชี | ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ต้มผสมน้ำตาลกิน | |
กลาก เกลื้อน | หอมแดง | ฝานหอมแดง นำมาทาบริเวณที่เป็น |
กระเทียม | นำกระเทียมสดที่ปอกเปลือกแล้ว มาปาดเนื้อออกเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง | |
กระชาย | นำเหง้ามาตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาหลาย ๆ ครั้งจนหาย | |
เป็นเหา | น้อยหน่า | ใช้เมล็ดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 1:2 ชโลมทิ้งไว้บนหัว 2 ชั่วโมง แล้วจึงล้างออก สระผสมตามปกติ ทำทุกสัปดาห์ จนไม่มีตัวเหา |
ปวดศีรษะ | พริกขี้หนู | นำใบสดมาตำผสมกับดินสอพอง พอกบริเวณขมับ |
ฟกช้ำ บวม โน | มะนาว | น้ำคั้นจากผลมะนาวสด ผสมกับดินสอพอง พอกบริเวณที่เป็น |
พริก | นำเม็ดพริกไปตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงทำเป็นครีมขี้ผึ้ง ทาบริเวณที่เป็น | |
ผื่น คัน | มะระขี้นก | นำผลมะระขี้นกตากให้แห้งแล้วบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันแผล |
พลู | ใช้ใบสดโขลกผสมกับเหล้าโรง ทาบริเวณที่คัน | |
ขมิ้นชัน | เหง้าสดหรือแห้ง บดให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใส ทาบริเวณที่คัน | |
ผักชี | ใช้ต้นสดมาตำ คั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นผื่นแดง คัน | |
คันจากบุ้ง | ตำลึงตัวผู้ | ใช้ใบสด ๆ ตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่โดนขนบุ้ง หรือแก้คันจากโดยหมามุ้ยก็ได้ |
พิษแมลงกัดต่อย | หอมใหญ่ | หลังจากเอาเหล็กในออกแล้ว ใช้หอมใหญ่ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย |
หอมแดง | ให้บ่งเอาเหล็กในออก แล้วผ่านหอมแดง โปะลงไปบนรอยที่ถูกต่อย | |
บัวบก | ใช้ใบขยี้ทา | |
พิษแมงป่อง ตะขาบ และแมงมีพิษกัด | ผักชีฝรั่ง | ใช้ใบหรือทั้งต้นตำพอกบริเวณที่ถูกกัด หรือใช้ตำแล้วคั้นน้ำทา |
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด แผลเรื้อรัง |
ว่านหางจระเข้ | นำใบว่านหางจรเข้มาปอกเปลือกเหลือแต่วุ้นล้างยางออกให้สะอาด นำมายีหรือหั่นเป็นแผ่นวางปิดแผล และ/หรือพันด้วยผ้าสะอาด หมั่นเปลี่ยนวุ้นบ่อย ๆ (หรือเช้า-เย็น จนกว่าจะหาย) |
หูด ตาปลา | มะละกอ | ใช้ยางดิบจากต้นหรือผลมะละกอมาทาหรือหยดใส่ |
เคล็ด ขัดยอก | ไพล | 1. ใช้หัวไพลฝนกับน้ำหรือเหล้าทาบริเวณที่เคล็ดขัดยอก 2. ใช้หัวไพลมาตำแล้วพอกบริเวณที่เคล็ด พันด้วยผ้าอีกครั้ง ถ้าจะให้ดีเติมการบูร ประมาณ 1 ใน 3 ของไพล หรือเติมเกลือเล็กน้อย จะมีประสิทธิผลดีขึ้น 3. เอาไพลมาตำพอแหลก ใส่เกลือให้เค็ม เติมน้ำแล้วต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วเอาส่วนที่เคล็ด แช่ประมาณ 10-20 นาที วันละ 2 ครั้ง |
เล็บขบ | เทียนบ้าน | ใช้ใบและต้นมาตำ และพอกตรงเล็บขบ |
แก้ไข (ร้อนใน) | ตะไคร้ ใบบัวบก |
นำใบมาต้มน้ำ แล้วใช้ดื่ม |
มะขาม | ใช้ฝักแกะเอาเมล็ดต้มน้ำกิน |
|