Herb

น้ำผลไม้-สมุนไพร เครื่องดื่มดูแลสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายในการสนับสนุน ส่งเสริมให้นำเอาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
หรือการกินอยู่อย่างวิถีไทยขึ้นมาใช้ เพื่อส่งเสริมรักษาบำรุงสุขภาพ ในยุคปัจจุบัน โดยให้คัดและเลือกสรร
ภูมิปัญญาที่เป็นผลและสามารถอธิบายได้

          ซึ่ง ณ วันนี้และขณะนี้ สิ่งที่นำมารับใช้สังคมได้อย่างดีก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนใช้ผักพื้นบ้าน
ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน เอ อี ซี และผลไม้ไทย ซึ่งทั้งผักก็ดี ผลไม้ก็ดี สมุนไพรก็ดีนั้น สามารถนำเอามาใช้ทั้ง
ในรูปแบบยา อาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาสมุนไพร และผลไม้มาใช้ในรูปแบบของเครื่องดื่มสมุนไพร
นั้น เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ และเข้าไปอยู่ในระบบของวิถีชีวิต
ประจำวันได้อย่างง่ายกว่าอื่นๆ ใดๆ

          อย่างเช่นการใช้สมุนไพรบางชนิดมาทำเครื่องดื่มเมื่อรับประทานแล้ว สามารถทำให้ได้รับวิตามินซี
มากขึ้น และสามารถ ลดคลอเลสเตอรอลได้ สามารถทำให้การรักษาอื่น ๆ ใด นั้น ประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น
อันนั้นเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญ จึงได้รวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งหมดในการทำน้ำและเครื่องดื่มสมุนไพร

 

กระเจี๊ยบแดง  

(Jamaican Sorrel, Rosella)

Hibiscus sabdariffa Linn.

Fam. : MALVACEAE

ใช้เป็นอาหาร
ใบอ่อน ยอดอ่อน แกงส้ม ต้มส้ม
คุณค่าทางโภชนาการ  กลีบเลี้ยงและใบประดับมีวิตามินซี 
มีกรดซิตริก มัลลิค ธาตุแคลเซียมสูง  มีวิตามินเอและอื่นๆ 
ใบมีวิตามินเอสูงมาก 12,583 I.U. ต่อ 100  กรัมของส่วน
ที่กินได้ มีแคลเซียมสูง มีฟอสฟอรัสและอื่นๆ 
ใช้เป็นยา  ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ 
ขับปัสสาวะ เป็นยาบำรุงธาตุ  และยาระบาย ใช้ภายนอกคือ 
ตำพอกฝี ต้มน้ำชะล้างแผล ใบตำให้ละเอียดนำมาประคบฝี
กลีบเลี้ยงทำให้สดชื่น ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ
 เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี 
แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ
แคนตาลูป 

(Cantaloupea)

Cucumis melo var. cantalupensis

Fam. : CUCURBITACCEAE

ใช้เป็นอาหาร
ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ ทำเป็นน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  เนื้อแคนตาลูป มีวิตามินเอสูงมาก 
มีวิตามินซีเล็กน้อย มีน้ำตาล  และมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ผลเป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับน้ำนม ขับเหงื่อ 
บำรุงหัวใจ สมอง   แก้อักเสบทางเดินปัสสาวะ แก้กระหาย ดับพิษร้อน 
 
แครอท

(carrot)

Daucus carota Linn subsp. Sativus Thell.

Fam. : UMBELLIFERAE


ใช้เป็นอาหาร หัว ผัด ใส่แกงจืด ทำส้มตำแบบมะละกอ ดอง ขูด ละเอียดนำไปกวนทำขนม แกะสลัก ประกอบการตบแต่งอาหารทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ   หัว มีสารเบต้า-แคโรทีนสูง มีโปรตีน 
คาร์โบไฮเดรต ธาตุแคลเซียม  มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี 1 บี 2 และวิตามินซี 
ใช้เป็นยา  หัว มีปริมาณของเกลือโปตัสเซียมสูงซึ่งทำให้มีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะ 
มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในทางขับพยาธิไส้เดือน 
                    
ตะไคร้

(Lemon Grass, Lapine)

Cymbopogon citratus Stapf

Fam. : GRAMINAE

ใช้เป็นอาหาร ต้นสด นำมาแต่งกลิ่นเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศ เช่น เป็นส่วนผสมของ เครื่องแกงต่างๆ ต้มยำ ยำต่างๆ ต้นสด ทำน้ำตะไคร้ได้
คุณค่าทางโภชนาการ  ทั้งต้น มีน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะลำต้นใต้ดินและบนดิน
ถ้ากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหย  ชื่อ Lemongrass oil น้ำมันนี้สามารถยับยั้ง
การเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้  มีเมนทอล แคลเซียม และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ทั้งต้น เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้องขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค 
เป็นยาทานวดก็ได้ หัว รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงธาตุ 
แก้อาการขัดเบา ใบสด จะช่วยลดความดันโลหิตสูง  แก้ไข้ ราก เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้อง
และท้องเสีย ต้น เป็นยาแก้ขับลม   แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ 
นิ่ว และเป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ                    
                    
บัวบก

(Asiatic Penyrort)

Centella asiatica Urban

Fam. : UMBELLTFERAE

ใช้เป็นอาหาร
ทั้งต้น กินเป็นผักสด หรือลวกกินกับขนมจีน น้ำพริก นำมาเป็นผักเหนาะ กินกับแกง นำมายำ ทำน้ำใบบัวบก
คุณค่าทางโภชนาการ  บัวบกมีน้ำมันหอมระเหยทุกส่วน สารที่มีรสขม มีสารไกลโคไซด์ 
มีวิตามินเอสูงมาก  มีธาตุแคลเซียม และสารอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ทั้งต้น นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ฟกช้ำได้ ลดการอักเสบได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ  
ตำพอกรักษาแผลสด ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ขับปัสสาวะและทำครีมทาผิวหนังแก้อักเสบ                    
                    
เตยหอม

(Pandanus)

Pandanus odorus Ridl.

Fam. : PANDANACEAE

ใช้เป็นอาหาร น้ำคั้นจากใบ นำมาแต่งกลิ่นแต่งสีขนม
คุณค่าทางโภชนาการ  ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียว
ที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคลอโรฟิลล์ 
ใช้เป็นยา  ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น  ต้นและราก 
เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ                    
                    
ฝรั่ง

(Guava)

Psidium guajava Linn.

Fam. : MYRTACEAE

เป็นอาหาร ผลแก่ รับประทานเป็นผลไม้ และทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ ผลฝรั่งแก่เต็มที่มีวิตามินซีสูงจะลดลงเมื่อสุก ช่วยปกป้องกัน
โรคเลือดออกตามไรฟัน  มีวิตามินเอ วิตามินบี1 บี2 และบี6 ธาตุเหล็ก และแคลเซียมมีกรด
อินทรีย์หลายชนิด   และมีน้ำตาลเล็กน้อย 
ใช้เป็นยา  ใบ แก้อาการท้องเดิน เนื้อผลฝรั่งสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ 
                   
มะขาม

(Tamarind)

Tamarindus indica Linn.

Fam. : CAESALPINICEAE

ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ดอก มีรสเปรี้ยว ใส่ในอาหาร ต้มยำ ต้มโคล้ง ฝักอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร น้ำพริกมะขาม ฝักแก่ รสเปรี้ยว ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แกงส้ม แกงคั่ว
คุณค่าทางโภชนาการ  เนื้อมะขามเปียก มีกรดอินทรีย์สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน
และเอเล็กน้อย มีกัม เพคติน และอื่น ๆ เมล็ดมะขาม มีมิวซีเลจสูง ไขมัน คาร์โบไฮเดรต 
น้ำมันชนิด semidrying fixed oil และอื่น ๆ 
ใช้เป็นยา  ใบแก่ เป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ เนื้อในผล แก้อาการท้องผูก 
 เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ เมล็ดแก่ เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก                    
                    
มะเขือเทศ

(Wild Tomato, Love Apple)

Lycopersion esculentum Mill.

Fam. : SOLANACEAE


ใช้เป็นอาหาร ผลสุก ปรุงอาหารประเภทต้มหรือยำ หรือบริโภคสด แต่งสีอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการ  มะเขือเทศสุก มีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเกือบครบ 
เช่น เอ บี ซี เค และวิตามินอื่น ๆ วิตามินเอนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะในมะเขือเทศสีดาและ
มีสารที่ให้สีเหลืองส้ม   ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และอื่น ๆ 
ใช้เป็นยา  มะเขือเทศสุก จะช่วยย่อย อาหารดีขึ้น ช่วยระบาย และช่วยฟอกเลือด   
ใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ หรือน้ำคั้นจากผลสดทาหน้า ช่วยทำให้ผิวหน้าตึงมีน้ำมีนวลยิ่งขึ้น 
                    
กล้วยหอม

(Banana, Cultivated Banana)

Musa sapientum Linn.

Fam. : MUSACEAE

ใช้เป็นอาหาร ผลแก่จัด นำมาทอด ฝานอบเนย ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ ทำขนมเค้ก ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  กล้วยหอมสุก มีน้ำตาลหลายชนิด มีสารเพคติน มีโปรตีน วิตามินเอและซี 
ธาตุฟอสฟอรัส และแคลเซียม สารที่ให้กลิ่นหอมในกล้วยหอมสุก คือ  amyl acetatea 
ใช้เป็นยา ใบตอง ใช้ปิดแผลไฟไหม้ ใช้ใบตองที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไปและฆ่าเชื้อก่อนใช้
เปลือกกล้วยหอมสุก ใช้รักษาส้นเท้าแตก โดยใช้เปลือกด้านทีติดเนื้อกล้วย  ทาติดต่อกันจนกว่าจะหาย 
                    
ขิง

(Ginger)

Zingiber officinale Roscoe

Fam. : ZINGIBERACEAE

ใช้เป็นอาหาร
ขิงสด ใช้ปรุงอาหาร เป็นผักจิ้ม ทำขิงดอง ทำน้ำขิง
คุณค่าทางโภชนาการ  ขิง มีน้ำมันหอมระเหย 1-3 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ขิงมีกลิ่นหอม และมีน้ำมันชัน  
(oleoresin) ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเหง้าขิงแก่ๆ สารชนิดนี้ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน  และรสเผ็ด 
ยังมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ บำรุงธาตุไฟ รักษานิ่ว ช่วยย่อยอาหาร 
ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ลมป่วง ท้องร่วงอย่างแรง  อาเจียน ใบ บรรเทาอาการฟกช้ำ ช่วยย่อยอาหาร 
ขับผายลม รักษาโรคกำเดาและนิ่ว  ขับลมในลำไส้ ดอก ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ และบำรุงธาตุไฟ 
ผล รักษาอาการไข้                    
                    
มะนาว

(Common Lime, Lime)

Citrus aurantifolia Swing

Fam. : RUTACEAE

ใช้เป็นอาหาร น้ำจากผล ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว ใช้ทั้งน้ำและเปลือกรับประทานกับเมี่ยง ใช้ดองไว้ปรุงอาหาร ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  น้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก มาลิค วิตามินซีสูง  
และมีสารอื่นๆ ผิวมะนาว มีน้ำมันหอมระเหย มีวิตามินเอ และซี มีธาตุแคลเซียมฟอสฟอรัสสูงกว่า
ในน้ำมะนาวมีสารที่มีรสขม และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา  ใบ ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม  และทำให้
เจริญอาหาร ผล คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน  บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เลือดออก
ตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือผลดองเกลือใช้เป็นยาขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ เปลือกผล 
เปลือกผลแห้ง ต้มน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง   แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร 
และขับลม รากสด แก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทกหรือหกล้ม  แก้ปวด และแก้พิษสุนัขกัด 
                    
มะละกอ

(Papaya, Pawpaw)

Carica papaya Linn.

Fam. : CARICACEAE

ใช้เป็นอาหาร ผลดิบ นึ่งหรือต้มรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ผัดกับไข่หรือหมู ทำส้มตำ แกงส้ม ยอดอ่อนดอง รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  ผลมะละกอดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซียม วิตามินซี และอื่นๆ 
ผลมะละกอสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน เหล็ก แคลเซียม และมีสาร carotenoid 
เป็นสารที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม 
ใช้เป็นยา ต้นมะละกอ ขับประจำเดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน  
ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิ 
                    
ระกำ

(Rakam, Sala)

Salacca rumphii Wall.

Fam. : PALMAE


ใช้เป็นอาหาร ผลดิบ รสเปรี้ยวนำมาตำน้ำพริก ใส่แกงส้ม ผลสุก รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้ หรือดองหวาน
คุณค่าทางโภชนาการ  เนื้อระกำ มีกรดอินทรีย์ มีน้ำตาล มีวิตามินซีเล็กน้อย มีธาตุแคลเซียม
ฟอสฟอรัส และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ผล กินเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก่น มีรสขมหวาน ใช้เป็นยาขับเสมหะ 
รักษากำเดา รักษาเลือด 
                    
ว่านหางจระเข้

(Aloe, Aloin, Star Cactus, Jafferabad, Barbados)

Aloe barbadensis Mill., A. indica Royle., A. vera Linn.

Fam. : LILIACEAE


ใช้เป็นอาหาร วุ้นจากใบ ทำลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม และทำน้ำว่านหางจระเข้
คุณค่าทางโภชนาการ  วุ้นและน้ำเมือก จะมีสารพวก Aloethin A เป็นสารพวก 
Glycoprotein  และมีสารอื่นๆ ยางสีเหลือง มีสารออกฤทธิ์ที่เป็นยาถ่าย เป็นสารจำพวก
แอนทราควินโนน                    
ใช้เป็นยา น้ำยางจากใบ ผสมกับสารส้มกิน รักษาโรคหนองใน ใบ ให้ยาดำใช้เป็นยาระบาย
และเป็นยาถ่ายจะออกฤทธิ์ที่ลำไส้ใหญ่ วุ้นจากใบ รักษาแผลไฟไหม้   การอักเสบของผิวหนัง 
และรักษาแผลที่เกิดจากการไหม้และจากเอกซเรย์  วุ้นใช้รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฝ้า 
ส่วนใบสดใช้ฝานหนาๆ แล้วทาปูนแดงใช้ปิดขมับ  รักษาอาการปวดศีรษะ ทำให้เย็น ดูดพิษ 
รากและเหง้า นำไปต้มกินรักษาโรคหนองใน                    
                    
สละ

(Sala)

Salacca edulis Reinw.

Fam. : PALMEA


ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อสละ มีกรดอินทรีย์ น้ำตาล วิตามินซีเล็กน้อย มีธาตุแคลเซียม  
ฟอสฟอรัส และสารอื่นๆ 
ส้มเขียวหวาน

(Mandarin, King Orange, Tamgerine)

Citrus reticulata Blanco

Fam. : RUTACEAE


ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ เชื่อม ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  เนื้อส้ม มีวิตามินซี เอ บี มี ธาตุแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส 
มีกรดอินทรีย์หลายชนิดและอื่นๆ  ส้มเขียวหวานมีวิตามินเอสูงมาก 4,000 I.U. ในส่วน
ที่กินได้ 100 กรัม ผิวส้ม มีน้ำมันหอมระเหย วิตามินซี และสารอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ผิวผล ใช้สกัดทำทิงเจอร์ สำหรับใช้แต่งกลิ่นยา และมีฤทธิ์ขับลม  เปลือกผล 
ปรุงยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ  น้ำจากผล ให้วิตามินซี 
รับประทานป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน  บำรุงร่างกาย แก้ไอ และขับเสมหะ 
                    
แห้ว

(Chufa, Earth Almond)

Cyperus esculentus Linn.

Fam. : CYPERACEAE


ใช้เป็นอาหาร หัวแห้ว ผัด ยำหรือต้มรับประทานเล่น ต้มกับน้ำตาล เชื่อม ทำแห้วกระป๋อง และทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  แห้ว มีวิตามินซีเล็กน้อย มีธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม มีแป้ง 
โปรตีน  และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา ใบ ตำพอกเหงือก แก้ปวดเหงือกปวดฟัน หัว เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ 
บำรุงธาตุ ขับน้ำนม สมานแผลในทางเดินอาหาร และกระตุ้นการทำงานของร่างกาย                    
                    
อ้อย

(Sugar Canea)

Saccharum officinarum Linn.

Fam. : GRAMINEAE


ใช้เป็นอาหาร ต้นแก่ เป็นอ้อยควั่น บีบทำน้ำอ้อยสดดื่มเป็นน้ำผลไม้ ทำน้ำตาล
คุณค่าทางโภชนาการ  อ้อย มีน้ำตาลซูโครสสูงมาก มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสเล็กน้อย 
และมีสารอื่นๆ                    
ใช้เป็นยา  น้ำเชื่อม ที่มีความเข้มข้นคามขนาดที่ฟาร์มาโคเปียกำหนดไว้ สามารถใช้เป็น
สารกันบูด  และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ใส่แผลเรื้อรัง ทั้งต้น ใช้รักษาปัสสาวะพิการ 
รักษาขัดเบา แก้อาการช้ำ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ ต้น แก้ไข้ แก้คอแห้งกระหายน้ำ 
รักษาอาการโรคไซนัส เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาอาการสัมประชวร รักษาไข้จับใน 
ชานอ้อย นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดเป็นผง รักษาฝีอักเสบ และแผลใต้ผิวหนังเรื้อรัง                    
                 
แอปเปิ้ล

(Apple)

Pyrus malus Linn.

Fam. : POMACEAE


ใช้เป็นอาหาร ผลแก่จัด รับประทานเป็นผลไม้ แช่ในน้ำเชื่อม ทำแยม และน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ  แอปเปิ้ล มีกรดอินทรีย์ มีวิตามินเอและซี มีธาตุแคลเซียม 
ฟอสฟอรัส  และอื่นๆ 
ใช้เป็นยา  ใบ ใช้ต้มกินรักษาเลือดคั่งค้างหลังคลอด รักษาอาการไข้ ขับน้ำคาวปลา  
รักษาแผลจากไฟ ผล รักษาอาการท้องผูกเป็นประจำ นอนไม่ค่อยหลับ รักษาโรคเกี่ยวกับไต
บำรุงร่างกายทารก บำรุงปอด 
                    
          "น้ำจากพืช และผลไม้ มีประโยชน์มากมาย ประโยชน์โดยตรงที่ได้จากการรับประทาน คือ 
ดับกระหายแล้ว แต่ว่าประโยชน์ที่แอบแฝงมาด้วยที่เราทุกคนควรทราบด้วย ก็คือ สรรพคุณทางยา
ของพืช และผลไม้นั้นๆ ภูมิปัญญาของไทยตรงนี้ นับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก เราคนไทยทุกควร
หันมาทาน น้ำสมุนไพร กัน อย่างน้อยวันละ 1 แก้วในช่วงเวลาอาหารเที่ยงก็นับว่าเพียงพอ"

( แหล่งที่มาของข้อมูล : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข )

Related post

ประโยชน์ของ พริกป่น
ประโยชน์ของ พริกป่น
ดีปลี
ดีปลี
วันนี้คุณทานมะรุมแล้วหรือยัง?
วันนี้คุณทานมะรุมแล้วหรือยัง?
ขี้เหล็ก ช่วยสงบประสาท แก้รังแค เหน็บชาและบวม
ขี้เหล็ก ช่วยสงบประสาท แก้รังแค เหน็บชาและบวม
"บัวบก"สู่ความเยาว์วัย
วาซาบิ (wasabi) ทำมาจากอะไร?
วาซาบิ (wasabi) ทำมาจากอะไร?