อนามัยวัยทารก
ให้อาหารถูกหลักลูกรักแข็งแรงอาหาร ที่เหมาะสำหรับทารกทั้งชนิดปริมาณ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนา และการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ทารก
เป็นช่วงชีวิตที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตของสมองเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งมีการพัฒนา
ไปประมาณร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่
ดังนั้น อาหารระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์ตลอดจนอาหารทารกหลังคลอด จึงมีความสำคัญอย่างมาก น้ำหนักทารกแรกคลอดจะประมาณ 3
กิโลกรัม แต่เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือนจะมีน้ำหนักเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด และควรเป็น 3 เท่าเมื่อทารกอายุได้ 1 ปี จะเห็นว่า
ไม่มีวัยใดในชีวติของคนเราที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเท่าช่วงวัยทารก ดังนั้นความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ จึงเพิ่มขึ้นด้วยถ้าได้
รับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เพียงพอการเจริญเติบโตก็จะหยุดชะงัก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้อาหารชนิดต่าง ๆ จึงมีความจำเป็น เพื่อให้
ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
สารอาหารสำคัญที่ลูกน้อยต้องการ
พลังงานและโปรตีน ความต้องการพลังงานและโปรตีนเทียบกับน้ำหนักตัวจะเห็นว่าสูงมากกว่าเด็กโตหรือว่าผู้ใหญ่ แหล่งโปรตีนและพลังงานในช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ดีที่สุดคือ นมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องชี้วัดการเจริญของเซลล์สมอง คือเส้นรอบศีรษะ
แร่ธาตุเหล็ก จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทารกอายุ 4-12 เดือน ควรได้รับแร่ธาตุเหล็กจากตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง
ไอโอดีน ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ไอโอดีนช่วยพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร
แคลเซียม จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่ได้รับจากนม
สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีมากในอาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และอาหารทะเล
วิตามินเอ มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต สร้างเสริมเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น แหล่งอาหารสำคัญ คือ ตับ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม และผลไม้สีแหลืงแสด
พัฒนาการกินในขวบปีแรก
ลูกแรกคลอด คุณหมอจะให้นำมาแนบอกแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ให้ลูกได้ดูดนมแม่ แม้ว่าบางครั้งแม่จะยังไม่มีนม หรือมีน้อยมากซึ่งเป็นหัวน้ำนมที่เป็นภูมิต้านทานของลูก เด็กแรกคลอดจะทำได้แค่ดูดและกลืนจึงยังไม่ต้องให้อาหารอื่นนอกจากนม ต่อเมื่อลูกอายุย่างเข้าเดือนที่ 4 จึงเริ่มให้ลูกได้อาหารอื่น นอกจากทารกเริ่มต้องการพลังงานแร่ธาตุวิตามินเพิ่ม และในช่วงนี้จะใช้ลิ้นช่วยให้อาหารในปากไปสู่การกลืน ควรเริ่มอาหารทีละอย่าง และทีละน้อย ๆ ก่อน 1 ช้อนเล็ก และจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เช่น เริ่มด้วยข้าว
บดไข่แดงบวกน้ำสุกเพื่อให้เหลวและเปลี่ยนเป็นกล้วยน้ำหว้าสุกบด (ไม่ใช้ไส้) ข้าวบดกับตับ ถ้าทารกปฏิเสธไม่ยอมรับอาหารใดให้เว้นเอาไว้ 3-4 วันแล้วกลับมาป้อนใหม่
เมื่ออายุได้ 6-7 เดือน ทารกคุ้นเคยกับอาหารเสริมแล้ว ทารกบางคนเริ่มมีฟัน ดังนั้น อาหารจะค้นขึ้น เนื้อสัตว์สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1 ถ้วย หรือว่าแทนนม 1 มื้อ หมุนเวียนอาหารโดยเฉพาะผัก เพื่อฝึกการยอมรับรสชาติของผักหลาย ๆ ชนิด และไม่ปฏิเสธผักเมื่อโตขึ้น
อายุ 8-12 เดือนให้อาหารหลัก 2 มื้อ นมอีก 4 มื้อ น้ำหนักตัวประมาณ 7-8 กิโลกรัม เด็กเริ่มหยิบของด้วยมือข้างเดียว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ในการหยิบของ ให้อาหารที่เป็นชิ้นที่นิ่มเมื่อเข้าปาก เช่น ขนมปังขาไก่ ฟักทองต้มเป็นชิ้น ๆ ผักต้มเด็กจะได้ช่วยตัวเองในการหยิบจับอาหารและสนุกกับการกิน
อายุ 1-1ปีครึ่ง อาหาร 3 มื้อ นม 3 มื้อ มีสารอาหารครบเหมือนผู้ใหญ่โดยอาหารสุกอ่อนนุ่มเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เคี้ยวได้ เด็กเริ่มที่จะใช้ช้อนในการตักเอง แต่ยังหกอยู่ ต้องปล่อยให้เด็กช่วยตัวเองในการตักอาหารและให้เด็กนั่งโต๊ะในการกินอาหารร่วมกับผู้ใหญ่เพื่อให้เคย ๆ ฝึกวินัยช่วงอายุนี้ เด็กสามารถดื่มนม ดื่มน้ำจากถ้วยได้แล้ว
เมื่ออายุ 2 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 12 กิโลกรัม ตักอาหารกินเอง ถือถ้วยน้ำเองยังหกอยู่บ้าง เริ่มคิดตัดสินใจเอง มีการต่อต้านคำสั่ง แต่ถ้าได้ฝึกให้ลูกกินถูกหลักถูกวิธีตั้งแต่เริ่มกินได้ ก็จะไม่ยุ่งยากหรือว่าปฏิเสธในการกินผักให้หนักใจ
การให้อาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก
ถึงแม้ว่านมแม่จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่งนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ไม่พอสำหรับทารก ดังนั้นอาหารเสริมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ช่วงอายุที่เหมาะสมในการให้อาหารเสริมแก่ทารกก็คือ เริ่มให้ลูกอายุ 4-6 เดือนขึ้นไปเพราะว่าทารกมีความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากนมแม่
อาหารที่เหมาะกับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 เดือนเต็มก็คือนมแม่อย่างเดียว แต่พอทารกอายุครบ 4 เดือนเต็ม ควรให้ข้างบดใส่ไข่แดงต้มสุก สลับกับตับ กล้วยน้ำหว้าสุกครูด ปริมาณ 1 2 ช้อนชา แล้วค่อยเพิ่มจนถึง ½ ถ้วย แล้วให้กินนมแม่ตาม
- ทารก 5 เดือน ควรเพิ่มปลาต้มสุกและผักต้มเปื่อยปริมาณ ½ ถ้วย
- ทารก 6 เดือน ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียดและข้าวบดที่หยาบขึ้นประมาณเกือบ 1 ถ้วย
- ทารก 7 เดือน ควรเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง และสามารถให้ไข่ทั้งฟองได้ ปริมาณอาหาร 1 ถ้วย สามารถแทนนมได้ 1 มื้อ
- ทารก 8-9 เดือน สามารถให้อาหารที่หยาบขึ้นและให้อาหารแทนนมได้ 2 มื้อ
- ทารก 10-12 เดือน เนื้อสัมผัสของอาหารจะหยาบขึ้นและไม่ต้องบด และให้อาหารแทนนมได้ 3 มื้อ
ทำอย่างไรไม่ให้ลูกเบื่ออาหาร
ทารกช่วงอายุ 4 เดือนขึ้นไปแล้ว เป็นช่วงที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นระยะที่เปลี่ยนจากการกินอาหารเหลวมาเป็นอาหารที่หยาบกว่าเดิม เป็นช่วงที่ควรฝึกหัดนิสัยการกินให้เด็กเพิ่มเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี เมื่อเด็กโตขึ้นบางครั้งอาจจะเบื่ออาหาร ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีข้อแนะนำดังนี้
1. ควรให้อาหารที่มีลักษณะละเอียดหรือว่าหยาบให้เหมาะสมกับวัย เช่น การให้ข้าวตุ่นที่เนื้อละเอียดจนเกินไปอาจทำให้เด็กเบื่ออาหาร เมื่อเด็กโตขึ้นพอที่เคี้ยวอาหารได้ก็ควรเปลี่ยนเป็นข้าวที่แห้งขึ้น
2. ควรหาวิธีให้เด็กคุ้นเคยต่อรสชาติของอาหาร เช่น เมื่อถึงวัยที่เด็กมีพัฒนาการชอบที่จะหยิบจับของใส่ปาก ควรหาอาหารที่ไม่เหนียว หรือว่าแข็งจนเกินไปให้เด็ก ถือกินเล่นจะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับกลิ่น และรสชาติของอาหาร
3. ควรรู้จักวิธีการปรับเปลี่ยนอาหารให้หลากหลาย เช่น อาหารผักแทนที่จะเป็นผักล้วน ๆ ก็ควรปรุงไปกับอาหารอื่น ๆ เช่น ไข่เจียว
หรือว่าไข่ตุ่นใส่ผักสับละเอียดหรือว่าแกงจืดแตงกว่ายัดไส้หมูบด
4. ส่วนเนื้อสัตว์ก็ควรหัดให้กินแบบที่ไม่เหนียวก่อน เช่น ให้กินเนื้อปลา ตับบด ก่อนที่จะกินพวกเนื้อ หมู ไก่ ตามลำดับ
5. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมโดยให้ร่วมโต๊ะอาหารพร้อมผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการกิน เช่น การกินผัก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และปรับตัว นอกจากนี้ควรรู้จักสังเกตและคอยแก้ไขปัญหาให้เด็กจนกว่าเด็กจะโต และรู้จักเลือกรับประทานอาหารของตนเองได้
อาหารสำหรับเด็กท้องผูกและท้องเสีย
การได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมจะช่วยให้การขับถ่ายของทารกดำเนินไปด้วยดีในระยะแรกทารกจะขับถ่ายด้วยการกระตุ้นของแล็กโทสในนม ซึ่งถูกย่อยไม่หมดแล็กโทสที่ถูกย่อยไม่หมดจะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ถูกหมักและย่อยต่อโดยแบคทีเรีย ทำให้เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งกรดนี้จะทำให้ลำไส้เกิดการระคายเคือง เกิดการบิดตัวและกรดนี้มีคุณสมบัติในการดูดน้ำเข้าหาตัวด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กก็จะขับถ่ายออกมา (จะเห็นได้ว่าเด็กที่ทานนมแม่ทุกคนจะขับถ่ายมีน้ำปนออกมา ซึ่งไม่ใช้ท้องเสีย ไม่ควรตกใจ) ทารกอายุน้อย ๆ กินนมแม่จะไม่เกิดอาการท้องผูก ถ้าลูกเกิดกินนมผสมต้องผสมนมให้ถูกส่วน เพราะยิ่งใสนมให้น้อยเกินน้ำมากขึ้น ลูกจะยิ่งท้องผูกหนักขึ้น เพราะการที่เด็กทารกถ่ายได้ขึ้นกับแล็กโทสที่อยู่ในนมจะย่อยไม่หมด
การแก้อาการท้องผูก ละลายน้ำผึ้งหรือน้ำตาลปี๊บ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำพอ ...... ต้มให้เดือด ทิ้งให้เย็นให้เด็กกินวันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเด็กโตเพิ่มอาหารที่มีกากพวกผักใบเขียว ผลไม้ เช่น มะละกอ ส้มเขียวหวาน หรือเด็กที่โตกว่า 2 ขวบ อาจให้กินน้ำมะขามที่ต้มสุกแล้ว และฝึกให้ถ่ายหลังอาหารเช้าเป็นประจำจะได้ไม่เกิดท้องผูก
ในกรณีที่ทารกอุจจาระร่วง
ถ้าลูกท้องเสียฉับพลัน ให้แก้สภาวะสูญเสียน้ำก่อนภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยให้ดื่มน้ำเกลือผงละลายน้ำแล้วให้ดูดนมแม่ต่อไป ถ้าเด็ก
กินนมผสมให้ผสมเจือจางเท่าตัวก่อนแล้วค่อยเพิ่มเป็นปกติภายใน 3 วัน
อาหารอื่นในระหว่างท้องเสีย ควรเป็นอาหารอ่อน ๆ จำนวนน้อยกว่าแล้วค่อยเพิ่มเป็นเท่ากับปกติ
- โจ๊ก , ข้าวต้ม
- ดื่มนมแม่
การพัฒนาการของเด็กตามวัยที่เหมาะสม
ในช่วงขวบปีแรกนั้นเด็กจะเติบโตเร็วมาก ในแต่ละเดือนที่ผ่านไปจะมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ถ้าพ่อแม่หรือว่าคนเลี้ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ก็สามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้
พัฒนาการของเด็กในขวบปีแรกมีดังนี้
แรกเกิด ทารกจะมองจ้องได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ แต่ว่ายังหันศีรษะไม่ได้ ช่วงเดือนที่ 1 เด็กจะเริ่มชูศีรษะได้เล็กน้อยเมื่อนอนคว่ำ หันซ้าย หันขวา มองตามได้เล็กน้อย ยิ้มไม่มีความหมาย และทำเสียงในคอได้ ช่วงเวลาที่แม่ให้นมลูกควรมองสลับตาและยิ้มแย้ม และเอียงหน้าไปมาให้เด็กมองตาม ช่วงเดือนที่ 2 เด็กจะชันคอได้แข็งขึ้น ถ้าจับนั่งจะยกศีรษะหรือว่าแหงนหน้าขึ้นได้ ฟังเสียงคุย ยิ้มตอบ แสดงความสนใจได้แล้ว ให้หาของเล่นสีสันสดในแขวนให้เด็กมองตามและพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ 4 เด็กบางคนจะชันคอได้แข็ง สามารถใช้มือและแขนยันยกตัวชูได้ และจะแสดงสีหน้าดีใจเมื่อเห็นหน้าพ่อหน้าแม่ หรือคนเลี้ยง ดังนั้นจึงควรจัดที่ปลอดภัยเอาไว้ให้เด็กหัดคว่ำหรือหัดคืบเมื่อเข้าเดือนที่ 6 เด็กจะคว่ำและหงายเองได้ นั่งเองได้ชั่วครู่ จับให้หัดยืนได้ หันหน้าตามเสียงเรียก เล่นน้ำลาย และรู้จักแปลกหน้าคนแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอุ้มเขาให้น้อยลง และปล่อยให้คลานเล่นเองมากขึ้น แต่ต้องมีผู้ใหญ่คอยระวังอยู่ข้างหลังด้วย ในช่วงเดือนที่ 9 เด็กจะนั่งได้มั่นคง คลานเกาะยืน ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มื้อได้ เล่นจ๊ะเอ๊ได้ โบกมือหรือว่าสาธุได้ ช่วงนี้ต้องให้เด็กได้หัดใช้นิ้วหยิบของหัดเดิน และหัดคลาน พออายุครบ 1 ขวบ ลูกจะตั้งไข่ เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ หยิบของใส่ถ้วยได้ เรียกพอเรียกแม่หรือว่าพูดเป็นคำ ๆ ได้เช่น หม่ำ เที่ยว คุณแม่ควรเริ่มสอนให้เขารู้จัก
อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหัดดื่มจากแก้วหรือหัดเดินจูงมือ
เลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพ
เด็กจะเติบโตเป็นคนดีมีความสามารถได้พ่อแม่มีส่วนมากทีเดียวเพราะต้องเป็นผู้ที่ปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กมีความพยายามด้วยต้องพัฒนาความสามารถของลูกให้เหมาะสมตามวัยครับ การเสริมสร้างความสามารถให้ลูกเป็นเด็กที่มีนิสัยขยันหมั่นเพียรนั้นมีหลักสำคัญ
ที่ต้องนำมาปฏิบัติประกอบการ 3 ประการ คือ
1. การฝึกหัดให้เด็กพึ่งพาตนเอง ซึ่งพ่อแม่ต้องเริ่มปลุกฝังตั้งแต่ลูกอายุขวบกว่า ๆ จนกระทั้ง 4-5 ขวบ เพราะว่าเด็กวัยนี้เป็นไม้อ่อนดัดง่าย เช่นตอนเล็ก ๆ ก็ฝึกให้เขาตักอาหารรับประทานเอง ถอดเสื้อเองหรือ 2-4 ขวบก็ฝึกให้ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ .....
2. หลักประการที่ 2 คือ พ่อแม่ต้องอบรมลูกด้วยความรัก ความเข้าใจและใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เรื่องนี้สำคัญมากต้องไม่ใช้วิธีการบังคับหรือฝืนใจและไม่ดุด่าให้ลูกกลัวหรือเสียกำลังใจ พ่อแม่ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างคอยให้คำแนะนำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้และให้รางวัลถ้าเขาทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็กนั้น เพียงแค่การกอดอย่างอ่อนโยน หอมแก้ม ตบมือ ให้เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว เรียกว่าการใช้ความรักและเหตุผลในการสอนจะส่งเสริมให้เด็กมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสิ่งที่พ่อแม่อบรมให้ดียิ่งขึ้น
3. และหลักประการสุดท้ายคือ การเล่านิทานหรือเรื่องที่เกี่ยกวับผู้มีความมานะพากเพียรให้ลูกฟังบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก
มีความเพียรพยายามในทางที่เหมาะสม โดยเลือกนิทานที่มีตัวเอก ตัวเอกที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ โดยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมตามความสามารถที่มีอยู่ หรือว่าแก้ปัญหาด้วยปัญญาและความมานะอดทน หลักทั้ง 3 ประการนี้ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการความสามารถมีความเพียรพยายาม และอย่าลืมปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่น ๆ ให้ลูกได้พร้อม ๆ กันไปด้วย