ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการทำขนมไทย
ไข่ | ก่อนใช้ไข่ควรล้าวเปลือกให้สะอาดก่อนแช่น้ำไว้สักครู่จึงใช้แปรงหรือผ้าถูแล้วเช็ดหรือผึ่งให้แห้ง สิ่งสกปรกจะได้ไม่ติดลงไปในอาหารด้วยเมื่อต่อยไข่แต่ถ้าจะเก็บไข่ไว้ใช้นานๆไม่ควรล้างจะทำให้ไข่เสียเร็วเพราะน้ำจะซึมเข้าไปทางช่องเล็ก ๆ ของเปลือกไข่ |
ไข่ตีขึ้น | หมายความว่าไข่ต้องข้นและเนื้อละเอียดเมื่อยกเครื่องตีไข่ขึ้น ไข่จะไม่หยด |
การเลือกไข่ | ไข่ที่มีอายุเพียง 2 หรือ 3 วันจะตีขึ้นดีกว่าไข่ใหม่ๆ เลยและไข่ที่เก่ามีอายุหลายๆ วันก็จะตีไม่ขึ้น ควรแยกไข่แดงและไข่ขาวแล้วตีทีละอย่างจะทำให้ขนมฟูมากขึ้น |
วิธีแยกไข่ | ต่อยไข่ใส่ชามระวังอย่าให้ไข่แดงแตก เมื่อต่อยไข่ใส่ชามได้ 2-3 ฟองก็ควรแยกไข่เสียทีหนึ่ง โดยใช้ช้อนสองคันตักไข่แดงขึ้นแล้วเปลี่ยนไข่ไปอีกช้อนเปลี่ยนไปมา ตักให้ไข่ขาวออกจากไข่แดงให้หมด ถ้าไม่ใช้ช้อนจะใช้มือทำแทนก็ได้ โดยเปลี่ยนมือไปมาแล้วใช้มือและนิ้วช่วยรีดไข่ขาว ถ้าไข่แดงแตกปนไปกับไข่ขาวให้ตักไข่แดงออกให้หมด |
การต้มไข่หวาน | เติมน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเล็กน้อยลงในน้ำเชื่อมจะช่วยให้ไข่ขาวสะอาด น่ารับประทานและไข่ขาวจะไม่กระจายด้วย |
แกงบวดและ |
การทำขนมพวกแกงบวดหรือบัวลอยนั้น ถ้าจะให้ขนมมันขึ้นและดูน่ารับประทานให้แบ่งหัวกะทิข้นๆไว้ เมื่อขนมจวนได้ที่แล้วจึงใส่หัวกะทิแล้วยกลง |
การปอกผลไม้ | ให้ใช้มีดทำด้วยทองเหลือง หรือมีดสแตนเลสจึงจะไม่ดำไม่ควรใช้มีดเหล็กจะทำให้ผลไม้ดำไม่น่ารับประทาน |
ผลไม้แห้ง | ก่อนคว้านเมล็ดให้แช่น้ำทิ้งไว้สักครู่จึงสงขึ้นแล้วจึงคว้าน จะทำให้คว้านได้ง่าย เมื่อคว้านเสร็จแล้วจึงผึ่งให้แห้ง |
การตวง | ใช้ช้อนตวงตักพอเต็มถ้วยหรือเต็มช้อน อย่าให้ล้นพูนหรือเว้าแหว่งอย่าเขย่าหรือกด จะทำให้แน่นเกินไป ทำให้ปริมาณที่ได้เกินอัตราส่วนเมื่อตักแล้วใช้สันมีดตรง ๆ ปาดส่วนที่เกินขอบปากออกด้วย |
ผ้ากรอง | * ใช้ผ้าขาวบางซึ่งจะหนากว่าผ้าพันแผลเล็กน้อย * การกรองเยลลี่หรือกรองวุ้นต้องชุบผ้าให้เปียกแล้วปิดให้แห้ง * การกรองไข่เพื่อทำฝอยทองเป็นการกรองเอาเยื่ยหุ้มไข่แดงออกแทนการรีดทีละฟองต้องใช้ผ้าแห้งกรอง * การกรองน้ำเชื่อมหรือน้ำผลไม้จะใช้ผ้าแห้งหรือผ้าเปียกก็ได้ |
พิมพ์ต่าง ๆ | พิมพ์ที่ใช้ใส่ขนมนึ่งหรือใส่เยลลี่ก่อนใช้ควรแช่น้ำเย็นหรือใส่น้ำเย็นให้ท่วมพิมพ์ เมื่อจะใช้ให้เอาขึ้นจากน้ำวางกองไว้แล้วหยิบใช้ทีละอัน |