Herb

สมุนไพรแห้ง

 สมุนไพรแห้งใช้ได้สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะนำไปดื่มที่สำนักงาน ดื่มระหว่างเดินทาง หรือดื่มนอกบ้าน สมุนไพรแห้งออกฤทธิ์เป็นสองเท่าของสมุนไพรสด โดยทั่วไปใช้สมุนไพรแห้งในอัตรา 1 หยิบมือ หรือ 1 ช้อนชาต่อน้ำร้อน 1 ถ้วยชาขนาดทั่วไป (ดูอัตราส่วนหน้า 26) ถ้าเป็นสมุนไพรสดอาจใช้สัดส่วน 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ถ้วย

เมื่อเก็บสมุนไพรสดมาแล้ว สามารถทำเป็นสมุนไพรแห้งได้หลายวิธีด้วยกัน โดยตากแดดโดยตรง ประมาณ 2 แดด อบให้แห้งในเตาอบขนาดเล็กด้วยความร้อนต่ำ ๆ ประมาณ 35-45 องศาเซลเซียส ใช้เวลานาน ๆ หรือห่อผ้าขาวบางแขวนไว้ในที่อากาศโปร่งก็ได้ วิธีหนึ่งที่เหมาะกับชีวิตสมัยใหม่คือ นำสมุนไพรทั้งใบมาวางบน กระดาษซับชนิดหนานุ่ม ซึ่งวางบนจานกระเบื้องขนาดใหญ่ แล้วปิดทับด้วยกระดาษซับอีกแผ่นหนึ่ง พร้อมถ้วยเล็ก ๆ ใส่น้ำสะอาดประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ นำเข้าอบในเตาไมโครเวฟด้วยความร้อนต่ำ ๆ ประมาณ 5-10 นาที หรือจนกว่า สมุนไพรจะแห้งดี เก็บสมุนไพรแห้งในภาชนะแก้วสีชา กระเบื้อง หรือโลหะที่มีฝาปิดผนึกแน่นกับอากาศได้ดี เก็บไว้ ให้ห่างจากความร้อนและแสงแดด ซื้อหรือทำสมุนไพรแห้งคราวละน้อย ๆ และควรลงวันที่ไว้กันลืมว่าเก็บสมุนไพรแห้ง ไว้ตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ โดยปกติถ้าเก็บด้วยวิธีที่ถูกต้อง แล้วนำออกผึ่งแดดซ้ำทุก 2 เดือน จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ นานถึง 8-12 เดือน การใช้สมุนไพรแห้งที่บรรจุสำเร็จวางขาย ควรใช้ให้หมดภายในเวลา 4-6 เดือน ห้ามใช้สมุนไพรแห้ง หมดอายุ หากสังเกตได้ว่าน้ำสมุนไพรที่ได้มีสีหนัก หรือสีหน่น ๆ ขุ่น มีฝ้า รสปร่าหรือเฝื่อน แสดงว่าสมุนไพรนั้นเก่าเกินไป ไม่ควรดื่มอย่าเก็บสมุนไพรแห้งไว้ในภาชนะเดียวกับเครื่องเทศหรือเครื่องปรุงอื่น ๆ เนื่องจากสมุนไพรจะดูดซับเอากลิ่น และรสจากสิ่งข้างเคียงได้ง่าย

การใช้น้ำประปาโดยตรงอาจมีโลหะหนัก ปรอท แคลเซียม และสารกลุ่มไบคาร์บอเนตต่าง ๆ ปนเปื้อนมาจากท่อ ส่งน้ำหรือน้ำใต้ดิน ถ้าสังเกตว่าน้ำที่ต้มแล้วมีฝ้าบาง ๆ จับอยู่บนผิวหน้า แสดงว่าน้ำมีสารอื่นปนเปื้อนอยู่ การต้ม เครื่องดื่มสมุนไพรควรใช้เฉพาะน้ำกรองสะอาดเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือใช้มะนาวฝานบางเป็นแว่นลอยไว้ใน เครื่องดื่ม กรดกลุ่มซิตริกจากมะนาวจะช่วยลดอนุมูลกลุ่มไบคาร์บอเนตที่ปนเปื้อนอยู่ได้

อุณหภูมิและเวลา

ในการชงสมุนไพร การใช้น้ำที่ยังมีออกซิเจนคงอยู่มาก ๆ จะช่วยให้สารสำคัญในสมุนไพรกระจายตัว ออกมาได้ดีขึ้น ดังนั้น อย่าปล่อยให้น้ำเดือดทิ้งอยู่นานเกินกว่า 1-2 นาที และไม่ควรใช้น้ำที่ต้มเดือดมาแล้วมา ต้มซ้ำ เนื่องจากน้ำที่ต้มเดือดมาแล้วจะมีออกซิเจนหลงเหลืออยู่น้อย วิธีที่ดีกว่าคือต้มน้ำใหม่ทุกครั้งที่จะชง เครื่องดื่ม ต้มพอเดือด และต้มแต่น้อยพอใช้ให้หมดในคราวเดียวจะดีกว่าการชงสมุนไพรส่วนที่เป็นใบ ดอก หรือ ก้านจะใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที ส่วนที่เป็นหัว แก่น เปลือก หรือผลควรทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 15 นาที

สำหรับภาชนะที่ใช้เตรียมเครื่องดื่มจะต้องสะอาด และควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่จะนำมา ปรุงเครื่องดื่ม โดยทั่วไปนิยมใช้ภาชนะกระเบื้องเคลือบหรือแก้วทนความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรุงเครื่องดื่ม จากพืชที่ให้รสเปรี้ยวอย่างมัลเบอรี มะม่วง สับปะรด มะขาม มะเฟือง เชอรี ฯลฯ ก็ควรใช้ภาชนะเซรามิกหรือเครื่อง เคลือบ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในสมุนไพรจะทำปฏิกิริยากับภาชนะอย่างอะลูมิเนียมหรือทองเหลือง ซึ่งจะทำให้รสชาติ ของเครื่องดื่มเปลี่ยนไป ซ้ำมีโลหะหนักสลายออกมาปนอีกด้วย

อัตราส่วน

การชั่ง ตวง วัด จะช่วยทำให้น้ำสมุนไพรที่ปรุงมีรสชาติคงที่เหมือนกันทุกครั้ง ดังนั้น ควรทราบอัตราส่วนของการชั่ง ตวง วัด ที่ใช้ในที่นี้ ดังนี้

1 ถ้วยตวง มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร (16 ช้อนโต๊ะ) 1 ถ้วยชา มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร 1 ช้อนโต๊ะหรือช้อนคาว มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร 1 ช้อนตวง มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร 1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร

Related post

ประโยชน์ของ พริกป่น
ประโยชน์ของ พริกป่น
ดีปลี
ดีปลี
วันนี้คุณทานมะรุมแล้วหรือยัง?
วันนี้คุณทานมะรุมแล้วหรือยัง?
ขี้เหล็ก ช่วยสงบประสาท แก้รังแค เหน็บชาและบวม
ขี้เหล็ก ช่วยสงบประสาท แก้รังแค เหน็บชาและบวม
"บัวบก"สู่ความเยาว์วัย
วาซาบิ (wasabi) ทำมาจากอะไร?
วาซาบิ (wasabi) ทำมาจากอะไร?