Food information

วิธีเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหาร



น้ำมันประกอบอาหาร เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการปรุงอาหารประเภททอดหรือผัด ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสมกับลักษณะหรือวิธีปรุงที่ต่างกัน รวมถึงความร้อน เวลา และจำนวนครั้งของการทอดอาหาร  ล้วนต่างก็เป็นปัจจัยเร่งต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมันด้วย...

ดังนั้น หากคำนึงถึงสุขภาพ ผู้บริโภคจึงจำจะต้องคัดสรรน้ำมันที่มีคุณภาพ และนำไปใช้อย่างถูกวิธี ดังนี้

เมื่อจะใช้น้ำมันประกอบอาหาร

ต้องสังเกตภาชนะบรรจุหรือฉลาก เช่น ขวดไม่บุบหรือมีรอยเปิดมาก่อน ฉลากต้องระบุชื่อผู้ผลิต เลข อย. ชนิดของน้ำมัน ที่ตั้งของสถานที่ผลิต วันที่ผลิตหรือคำแนะนำที่เหมาะสมต่อประเภทของอาหารที่ใช้ทอด โดยลักษณะของน้ำมันที่ดีต้องไม่ใสจนเกินไป เช่น น้ำมันปาล์มต้องมีสีเข้มบ้าง เนื่องจากมีสารเบต้าแคโรทีน ก้นขวดไม่มีสิ่งแปลกปลอม ประเภทผงสีดำ หรือตะกอนขุ่นขาว เพราะหมายถึงการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน

ควรเลือกชนิดของน้ำมันให้เหมาะกับการประกอบอาหาร

เช่น อาหารทอดแบบน้ำมันท่วม ควรใช้น้ำมันพืชที่ทนความร้อนสูง ได้แก่ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด รำข้าว ดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก และน้ำมันดอกทานตะวัน ควรใช้กับอาหารประเภทผัด อย่างไรก็ตาม ถ้าน้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ เกิดฟอง ควันเหม็นไหม้ ต้องเปลี่ยนน้ำมันทอดทันทีไม่ควรเติมน้ำมันใหม่ลงไปผสมให้เจือจางระหว่างและหลังการทอด ทั้งนี้ในการใช้น้ำมันทอดอาหาร ควรใช้ตะแกรงกรองเศษอาหารและผงขนาดเล็กทิ้งระหว่างทอด และซับน้ำส่วนเกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อลดการแตกตัวและชะลอการเสื่อมของน้ำมันให้น้อยลง ไม่ควรทอดไฟแรงเกินไป ต้องเปลี่ยนน้ำมันให้บ่อยขึ้นเมื่อทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือ หรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก หลีกเลี่ยงการใช้กะทะเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง และควรล้างทำความสะอาดกะทะ หรือเครื่องทอดทุกวัน

ควรระวังการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

เพราะทางวิทยาศาสตร์มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า น้ำมันที่ผ่านความร้อนหลายครั้งจะเสื่อมคุณภาพ ทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง และเกิดสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คือ สารในกลุ่มก่อมะเร็ง สารในกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคระบบไหลเวียนโลหิต แม้สารอันตรายที่เกิดขึ้นจะมีปริมาณน้อย แต่ถ้าใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือไม่เปลี่ยนเลย สารเหล่านี้จะสะสมมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตราย ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้

 

 

ที่มา: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดย ทิฆัมพร บุญมาก

Related post

เปรี้ยวหวานลงตัว ส้มช่วยคุณดูแลสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
เปรี้ยวหวานลงตัว ส้มช่วยคุณดูแลสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
รู้หรือไม่ 1 ตุลาคมเป็นวันกาแฟสากล ของคนรักกาแฟทั่วโลก!
รู้หรือไม่ 1 ตุลาคมเป็นวันกาแฟสากล ของคนรักกาแฟทั่วโลก!
รู้หรือไม่.. รูตรงกลางทัพพีตักเส้นสปาเก็ตตี้มีไว้ทำไม
รู้หรือไม่.. รูตรงกลางทัพพีตักเส้นสปาเก็ตตี้มีไว้ทำไม
เกร็ดความรู้เรื่อง
เกร็ดความรู้เรื่อง "ปลาทู" น่ารู้ทั้งนั้นเลยค่ะ
การใช้โต๊ะหมุน ในการรับประทานอาหารจีน
การใช้โต๊ะหมุน ในการรับประทานอาหารจีน
ถั่วงอกธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ประโยชน์มากขนาดนี้ อย่าลืมนึกถึงถั่วงอกเวลาทำอาหารนะคะ
ถั่วงอกธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ประโยชน์มากขนาดนี้ อย่าลืมนึกถึงถั่วงอกเวลาทำอาหารนะคะ
Review & Restaurant
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
72 Courtyard เปิดตัวโฉมใหม่พร้อมร้านอาหารและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดพิเศษ กิน ดื่ม เที่ยว ครบทุกความสน
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
Veggie Shack เบอร์เกอร์สำหรับคนชอบผัก จาก Shake Shack
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
ร้าน Cafe Wolseley Bangkok ชวนชิมส่งท้าย ก่อนโบกมือลาเมืองไทย 5 กย.นี้
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok
Review: Prix Fixe 3 เมนูคอร์สล่าสุดต้อนรับสปริง-ซัมเมอร์นี้ กับร้าน Cafe Wolseley Bangkok
Kita Tea Stand สาขาคลองสี่
Kita Tea Stand สาขาคลองสี่
รสชาติหวานหอมของสตรอว์เบอร์รีที่ติดอยู่ในปากและในใจของผู้คน The Temptation of Strawberry ร้านพอปอัปส
รสชาติหวานหอมของสตรอว์เบอร์รีที่ติดอยู่ในปากและในใจของผู้คน The Temptation of Strawberry ร้านพอปอัปส

Cooking Recipe

View all

Click Now
Populer Post
ไส้กรอกอีสาน (อาบยา) ...แสนอร่อย!!!
ไส้กรอกอีสาน (อาบยา) ...แสนอร่อย!!!
น้ำมันพืช...ทำไมไม่เป็นไขเมื่อ แช่เย็น
น้ำมันพืช...ทำไมไม่เป็นไขเมื่อ แช่เย็น
ชีสขึ้นรายังใช้ได้ไหม
ชีสขึ้นรายังใช้ได้ไหม
สาคูเปียกถั่วดำ
สาคูเปียกถั่วดำ
20 มุมมองใหม่เกี่ยวกับ"กาแฟ"
20 มุมมองใหม่เกี่ยวกับ"กาแฟ"
กินผักอย่างไรให้ปลอดภัย
กินผักอย่างไรให้ปลอดภัย