เรื่องของเห็ด (Mushroom)
เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พบทั้งในน้ำ บนบกและในอากาศ มีลักษณะคล้ายสาหร่าย แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ เป็นเส้นใยเล็กๆ ซึ่งแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา เส้นเหล่านี้มักอยู่รวมกันเป็นกระจุก (ไมซีเลียม) บางชนิดมีเซลล์เดียว เช่น ยีสต์บางชนิดรวมเป็นดอกเห็ด เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์มันจึง ต้องอาศัยการย่อยสลายอาหารจากภายนอก ได้แก่ อินทรีย์วัตถุทั่วไป อย่างไรก็ตาม บางชนิดอาจดำรงชีวิตแบบปรสิต หรืออยู่รวมกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยอาศัยประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น ไลเคนส์ (เห็ดราอยู่ร่วมกับสาหร่าย) ปัจจุบันเห็ดที่นิยมรับประทานกันมีอยู่มากมายหลายชนิด มีทั้งแบบสดแบบบรรจุกระป๋อง หรือแม้แต่เห็ดตากแห้ง ปัจจุบันได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเห็ดหลายเรื่อง
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการรักษาโรคของเห็ด โดยเห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นำ มาวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดที่นิยมนำมาทำเป็นอาหาร เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดแชมปิญอง เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หรือ เห็ดหลินจือ และมีการค้นพบว่าเห็ดแชมปิญอง มีบทบาทที่ช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเทียบกับเห็ดรับประทานได้ชนิดอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเห็ดชนิดอื่น ไม่มีประโยชน์ อย่าลืมว่าพืชผักทุกชนิดมีประโยชน์กับร่างกายทั้งสิ้น แต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
เห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหารที่พบเห็นมากในบ้านเรา ได้แก่
เห็ดหอม ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารตำรับ อมตะ เพราะมีคุณสมบัติความเป็นยาบำรุงกำลังและบรรเทาอาการไข้หวัด การไหลเวียนเลือดไม่ดี ปวดกระเพาะอาหาร รวมทั้งอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งเห็ดหอมจะให้โปรตีนได้มากกว่าเห็ดแชมปิญองถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินบี ซีลีเนียม และธาตุอื่นๆ ที่ร่างกายต้องการ
เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นคล้ายพัด ซึ่งเห็ดเป๋าฮื้อจะ มีลักษณะเหนียวหนากว่าเห็ดสองชนิดแรก ซึ่งเห็ดเป๋าฮื้อสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และโรคกระเพาะอาหาร
เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้างชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา มีวิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด เชื่อกันว่าหากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อต่างๆ แต่ก็ไม่ควรรับประทานสดๆ เพราะมีสารยับยั้งการดูดซึมอาหาร ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการผื่นคันต่างๆ
เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย และกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส แถมยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ ลดความดันเลือด แก้ปวดศีรษะ รวมทั้งลดไขมันในเส้นเลือดด้วย
ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
|
พลังงาน |
โปรตีน |
ไขมัน |
คาร์โบไฮเดรต |
แคลเซียม |
ฟอสฟอรัส |
เหล็ก |
วิตามิน บี1 |
วิตามิน บี2 |
ไนอาซิน |
วิตามินซี |
เบต้าแคโรทีน |
ใยอาหาร |
|
กิโลแคลอรี่ |
|
กรัม |
|
|
|
|
มิลลิกรัม |
|
|
|
RE |
กรัม |
เห็ดฟาง |
28 |
3.4 |
0.2 |
3.2 |
10 |
18 |
0.93* |
0.07 |
0.04 |
3 |
5* |
- |
1.4* |
เห็ดโคน |
38 |
4.2 |
- |
5.4 |
9 |
6 |
1.6 |
0.12 |
0.35 |
- |
9 |
0 |
- |
เห็ดหูหนู |
43 |
1.4 |
0.1 |
9.1 |
60 |
Tr |
6.1 |
0.04 |
0.71 |
2.8 |
1.4 |
- |
7.9 |
เห็ดหอมสด |
26.61 |
2.19 |
0.12 |
4.19 |
6.44 |
45.78 |
1.06 |
0 |
1.03 |
3.23 |
0 |
- |
- |
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตารางแสดง คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย , 2535
* = วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
RE = ไมโครกรัมเทียมหน่วยเรตินัล
- = ไม่มีการวิเคราะห์
tr = มีปริมาณเล็กน้อย