27 Feb 2006

กินอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหาร

1.เลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
ควรเลือกซื้ออาหารที่ผลิตหรือจำหน่ายจากแหล่งผลิตที่สะอาด ปลอดภัย เช่น อาหาร ปรุงสุก ไม่วางจำหน่ายบนพื้น อาหารปรุงสุกต้องมีการปกปิดและเก็บในอุณหภูมิที่ เหมาะสม และอ่านฉลากทุกครั้ง ก่อนซื้ออาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุที่ ปิดสนิท เป็นต้น

2.ปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง
อาหารดิบ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่และอาหารทะเล เป็นต้น มักมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ เมื่อนำอาหารดิบมาปรุง ต้องใช้ความร้อนที่สูงอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส เพื่อทำ ให้อาหารสุกทั่วถึงทุกส่วน ไม่ปรุงอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ

3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
อาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลง เชื้อโรคที่หลงเหลือ หรือปนเปื้อนซ้ำในอาหาร จะสามารถเจริญเติบโตในอาหารได้อีก ยิ่งทิ้งไว้นานเท่าใด ก็มีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะะเจริญเติบโตได้มากขึ้น เพื่อความ ปลอดภัยของผู้บริโภค จึงควรรับประทานทันที หลังจากปรุงอาหารให้สุกด้วยร้อนแล้ว

4. เก็บอาหารปรุงสุกอย่างเหมาะสม
หากต้องการเก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เตรียมไว้ล่วงหน้า หรือ อาหารที่เหลือจากการบริโภคไว้นานเกินกว่า 4- 5 ชั่วโมง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ เก็บในที่ร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า หรือเท่ากับ 60 องศาเซลเซียส เช่น การอุ่นบนเตาไฟ การแช่ในอ่างน้ำร้อน เป็นต้น หรือเก็บในที่เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส และไม่ควรเก็บอาหารปริมาณมาก ๆ ในภาชนะขนาดใหญ่ ควรแบ่งในภาชนะกว้างและ ตื้น เพื่อให้ความเย็นกระจายซึมผ่านได้ทั่วถึง และต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อน บริโภค สำหรับอาหารทารกไม่ควรเตรียมไว้ ล่วงหน้าหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน เมื่อปรุง สุกแล้วควรนำไปบริโภคทันที

5. อุ่นอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างทั่วถึง
การอุ่นอาหารที่ปรุงสุกแล้วให้ร้อนอย่างทั่วสุก เป็นวิธีการสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ซึ่งอาจเจริญเติบโตได้ในขณะที่เก็บอาหารไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติ หรือที่อุณหภูมิต่ำ ฉะนั้นก่อนนำอาหารที่เก็บไว้มาบริโภค จึงต้องอุ่นอาหารด้วยความร้อน ให้ทุกส่วน ของอาหารมีอุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส และควรบริโภคทันทีที่อาหารยัง ร้อนอยู่

6. หลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารดิบสัมผัสกับอาหารสุกแล้ว
อาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนแล้ว ต้องมีการป้องกันไม่ให้ได้รับการปนเปื้อนจาก เชื้อโรคอีก โดยเฉพาะเชื้อโรคจากอาหารดิบ ดังนั้น จะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิด การปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารดิบและอาหารปรุงสุก เช่น ไม่นำมีดและเขียงที่ใช้หั่น อาหารดิบแล้ว มาหั่นอาหารสุกโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดก่อน เป็นต้น สิ่งที่ดีที่สุด ควรแยกใช้ เขียง มีด หรือภาชนะอุปกรณ์อื่นต่างหาก ระหว่างอาหารดิบและอาหารปรุงสุก

7. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียม/ปรุงอาหาร
ผู้ที่มีหน้าที่เตรียม/ปรุงอาหาร ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนทำอาหาร หลังหยิบจับอาหารดิบ ธนบัตร สัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งสกปรกอื่น เช่น ขยะ เศษอาหาร เป็นต้น และหลังใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม เนื่องจากเชื้อโรคจากสิ่งเหล่านี้อาจปนเปื้อนลงสู่ อาหารได้

8. รักษาความสะอาดของห้องครัวอยู่เสมอ
เนื่องจากอาหารอาจถูกปนเปื้อนได้ง่าย จากเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ดังนั้น เราจึงต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุง ต้มอาหาร พื้น ผนัง เพดานของห้องครัวให้สะอาดอยู่เสมอ ผ้าเช็ดทำความสะอาดต้อง แยกใช้เฉพาะแต่ละบริเวณ เช่น ผ้าที่ใช้เช็ดโต๊ะต้องแยกจากผ้าที่ใช้เช็ดพื้น เป็นต้น และต้องซักทำความสะอาดบ่อย ๆ

9. มีน้ำใช้ที่สะอาด
น้ำที่ใช้ในการเตรียม ปรุงอาหาร ต้องเป็นน้ำที่สะอาด มีคุณภาพ เช่นเดียวกับน้ำดื่ม โดยเฉพาะน้ำที่นำมาเตรียมอาหารทารก หากไม่แน่ใจในคุณภาพของน้ำ ต้องนำมา ต้มก่อนก่อนจะนำไปปรุงอาหาร หรือทำน้ำแข็ง

10. มีการป้องกันอาหารให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลงนำโรคต่าง ๆ
สัตว์ แมลงนำโรค เป็นพาหะที่สำคัญในการนำเชื้อโรคมาสู่อาหาร และทำให้เกิดโรค ที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ ดังนั้นจะต้องมีการป้องกันอาหารจากสัตว์ แมลงนำโรค โดยการ เก็บอาหารในภาชนะที่มีการปกปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้สัตว์ แมลงนำโรค สัมผัสอาหาร และ นำเชื้อโรคมาสู่ผู้บริโภคได้

Buy my Cook Book

+